วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555

หลักฐานประเภทพงศาวดาร

หลักฐานประเภทพงศาวดาร พงศาวดาร คือ พงศาวดาร เป็นคำรวมระหว่าง พงศ กับ อวตาร ซึ่งหมายความว่า การอวตารของเผ่าพันธุ์ บางแห่งเขียนว่า พระราชพงศาวดาร ในที่นี้หมายความถึง การอวตารของเทพเจ้าในศาสนาฮินดู (พระนารายณ์) ดังนั้น พงศาวดารจึงเป็นเรื่องราวที่บันทึกเหตุการณพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของ ประเทศชาตินั้น หรือพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ที่เกี่ยวกับประเทศชาติหรือศาสนาเป็น ส่วนใหญ่ พงศาวดาร ในฐานะหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ปัจจุบันมีการถกเถียงกันเรื่องความน่าจะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า เป็นหลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานชั้นรอง เพราะมีการเขียนพงศาวดารหลายฉบับในลักษณะที่คล้ายกันแต่แตกต่างกันในเนื้อหา และรายละเอียดประกอบ กับการใช้ศักราชในพงศาวดารไม่สอดคล้องกันบางใช้ มหาศักราช บางใช้จุลศักราช และพงศาวดารมีการเขียนขึ้นภายหลังเหตุการณ์ เช่น พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ (พ.ศ.2223)เขียนขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่กล่าวถึงก่อนการสถาปนากรุงศรอยุธยา เป็นต้น 1 พงศาวดาร ในความหมายของ กรมพระยาดำรง คือ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ พูดง่ายๆ คือ กรมพระยาดำรง เห็นชอบที่จะเรียกประวัติศาสตร์ว่า พงศาวดารมากกว่า ( อาจจะเป็นเพราะเรียกจนติดปาก ) ดูรายละเอียดได้ในสานส์สมเด็จ 2 พงศาวดาร คือ การบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ โดยลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง ซึ่งจะไม่มีความคิดเห็นของผู้บันทึกสอดแทรกเข้าไปมากนัก หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เป็นคำให้การ หรือจดหมายเหตุ ที่ทางราชสำนักเป็นผู้บันทึกขึ้น 5 อันดับหนังสือเก่าหายาก ที่เซียนหนังสือเก่าลงความเห็นว่าทั้งหายาก และมีราคาแพง แต่ไม่ได้เรียงลำดับตามสนนราคา หากขึ้นอยู่กับความหายากเป็นสำคัญ 1.ประชุมพงศาวดารภาค 1-82 หนังสือที่รวบรวมพงศาวดารต่างๆ และตำนานเก่าแก่ที่สำคัญในสยามประเทศแต่โบราณมา มีทั้งหมด 82 ภาค ตั้งแต่ภาคแรกที่ตีพิมพ์ปี พ.ศ.2456 จนถึงภาค 82 ที่พิมพ์ปี พ.ศ.2537 ราคาซื้อขายปัจจุบันอยู่ที่ชุดละ 2 แสนบาท 2.ราชกิจจานุเบกษา ร.5 เป็นเอกสารที่หายากมาก มีการนำมารวบรวมได้ทั้งหมดครบชุด 35 เล่ม ราคาซื้อขายปัจจุบันอยู่ที่ประมาณชุดละ 7 แสนบาท 3.จดหมายเหตุสยามไสมย เป็นหนังสือพิมพ์รายเดือน/รายสัปดาห์ที่ออกระหว่างปี พ.ศ.2425-2429 ต้นสมัยรัชกาลที่ 5 บรรณาธิการและผู้จัดพิมพ์คือหมอสมิท (Rev. Samuel J. Smith) มิชชันนารีชาวอังกฤษผู้บุกเบิกการพิมพ์ เท่าที่ปรากฏแก่สาธารณชนในปัจจุบัน หนังสือพิมพ์ฉบับนี้มีเหลืออยู่เพียงสองชุดในเมืองไทย ชุดหนึ่งเป็นของหอสมุดแห่งชาติ กับอีกชุดหนึ่งตกเป็นสมบัติของนักสะสมเอกชน และชุดหลังนี้เองที่ทางสำนักพิมพ์ต้นฉบับได้รับอนุญาตให้ถ่ายสำเนามาใช้เป็น ต้นฉบับในการพิมพ์ซ้ำครั้งนี้ ขณะที่ฉบับพิมพ์ครั้งแรกนั้นราคาพุ่งไปถึงหลักแสน 4.ธรรมศาสตร์วินิจฉัย มีทั้งหมด 4 เล่ม ราคาซื้อขายปัจจุบันอยู่ที่ชุดละ 2-3 แสนบาท 5.วชิรญาณวิเศษ เป็นหนังสือรายสัปดาห์ในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มออก พ.ศ.2429-2437 โดยพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าคคณางค์ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ขณะดำรงตำแหน่งสภานายกหอพระสมุดวชิรญาณ ได้ทรงนำเรื่องราวที่รวบรวมได้จากกรรมการ หรือสมาชิกของหอพระสมุด มาตีพิมพ์ออกเป็นวารสารหรือหนังสือ ซึ่งในหนังสือเล่มนี้เองที่เริ่มมีการแปลวรรณกรรมตะวันตกในรูปของนิทาน เช่น นิทานอีสปปกรณัม เพื่อสอนคติธรรมและให้ความบันเทิงเผยแพร่ในเมืองไทยเป็นครั้งแรก มีทั้งหมด 9 เล่ม ราคาซื้อขายปัจจุบันอยู่ที่ชุดละ 3 แสนบาท (อันดับ 6 คือ สาส์นสมเด็จ มีทั้งหมด 55 ภาค เป็นพระราชหัตเลขาส่วนพระองค์ที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงติดต่อกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศนรานุวัตติวงศ์ พิมพ์ครั้งที่หนึ่งเป็นหนังสือชุดที่พิมพ์งานศพ 55 ภาค พิมพ์ครั้งที่ 2 โดยคุรุสภานำมาพิมพ์เป็นเล่มแรก มีทั้งหมด 27 เล่ม) รายงานประวัติศาสตร์ เรื่อง หลักฐานประเภทพงศาวดาร เสนอ พระมหา นาวิน ภทฺรตนฺติเมธี จัดทำโดย 1. สามเณร ทิวาพร บำเพ็ญ 2. สามเณร ธนวัฒน์ สุขมี 3. สามเณร วรุต เหมือนหนู

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น