วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ศิลาจารึก

ศิลาจารึก คือ เอกสารประเภทที่มีรูปอักษรเป็นร่องรอยลึกลงในเนื้อวัตถุต่าง ๆ ซึ่งสำเร็จด้วยกรรมวิธีจารึก เรียกว่า ศิลาจารึก เช่น รูปอักษรที่ปรากฎบนแผ่นศิลา รูปอักษรที่ปรากฎบนแผ่นไม้ เรียกว่า จารึกบนแผ่นไม้ รูปอักษรที่ปรากฎบนแผ่นโลหะ ซึ่งมีลักษณะสี่เหลี่ยมคล้ายใบลาน เช่น แผ่นทอง แผ่นเงิน แผ่นนาค เรียกว่า จารึกลานทอง จารึกลานทองแดง จารึกลานเงิน และจารึกลานนาค เป็นต้น ความสำคัญของจารึก คนสมัยโบราณจะจารึกอักษรไว้บนวัตถุเนื้อแข็ง มีสภาพคงทนถาวรมีอายุการใช้งานได้นาน เช่นผนังถ้ำ แผ่นศิลา แผ่นดินเผา แผ่นไม้ และแผ่นโลหะอื่น ๆ ด้วยวัตถุที่แหลมคม ซึ่งเรียกว่า เหล็กจาร อักษรที่จารึกจะเป็นข้อความที่บ่งบอกให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของผู้ทำจารึก หรือประกาศเรื่องราวของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ให้ผู้อื่นทราบถึงวัตถุประสงค์ของผู้ทำจารึก หรือประกาศเรื่องราวของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ให้ผู้อื่นทราบ โดยไม่มีเจตนาที่บันทึกไว้เพื่ออ่านเอง ฉะนั้น จารึกจึงเป็นหลักฐานทางเอกสารที่สำคัญ ที่สะท้อนให้ประชาชนในปัจจุบัน ได้เห็นภาพทางสังคมของบรรพชนแต่ละท้องถิ่นในอดีต แต่ละยุคสมัยได้เป็นอย่างดี ภาพที่สะท้อนออกมาจากข้อความของศิลาจารึกมีทั้งด้านประวัติศาสตร์ ลัทธิความเชื่อทางศาสนา ศิลปวัฒนธรรม อารยธรรม และธรรมเนียมประเพณีการดำรงชีวิตในสังคมเป็นต้น ซึ่งได้กลายเป็นมรดกตกทอดและพัฒนามาจนถึงสังคมปัจจุบัน อักษรที่ใช้จารึก เอกสารประเภทศิลาจารึก ที่พบในประเทศไทยมีรูปแบบอักษรต่าง ๆ ตามอิทธิพลวัฒนธรรมที่หลั่งไหลเข้ามาสู่ดินแดนบริเวณแถบนี้ในอดีต หรือที่เรียกว่า ดินแดนของประเทศไทย ในปัจจุบัน เมื่อแบ่งเป็นกลุ่มประเภทอักษรตามยุคสมัยแล้ว จะได้ดังนี้ ๑. อักษรปัลลวะ ๑๑. อักษรธรรมอีสาน ๒๐. อักษรเฉียงพราหมณ์ ๒.อักษรหลังปัลวะ ๑๒. อักษรไทยอีสาน ๒๑. อักษรอริยกะ ๓. อักษรมอญโบราณ ๑๓. อักษรไทยใหญ่ ๒๒. อักษรทมิฬ ๔. อักษรขอมโบราณ ๑๔. อักษรไทยย่อ ๒๓. อักษรจีน ๕. อักษรขอม ๑๕. อักษรขอมย่อ ๒๔. อักษรยาวี ๖ .อักษรมอญ ๑๖. อักษรพม่า ๒๕. อักษรสิงหฬ ๗.อักษรไทยสุโขทัย ๑๗. อักษรพม่าย่อ ๒๖. อักษรเทวนาครี ๘. อักษรธรรมล้านนา ๑๘. อักษรเฉียงขอม ๒๗. อักษรบาหลีโบราณ ๙. อักษรไทยล้านนา ๑๙. อักษรเฉียงคฤนถ์ ๒๘. รูปอักษรอื่น ๆ ๑๐. อักษรไทยอยุธยา อักษรศิลาจารึกที่พบในประเทศไทย เฉพาะที่สำคัญซึ่งมีอายุเก่าแก่ตามยุคสมัยที่พัฒนามาโดยลำดับ คือ ๑. อักษรปัลลวะ จากศิลาจารึกบ้านวังไผ่ เพชรบูรณ์ พ.ศ. ๑๐๙๓ อักษรปัลลวะ จากศิลาจารึกปราสาทเขาน้อย ปราจีนบุรี พ.ศ. ๑๑๘๐ รายงานเรื่องศิลาจารึก เสนอ อาจารย์ พระมหานาวิน ภทฺรตนฺติเมธี จัดทำโดย สามเณรสมพร บำเพ็ญ สามเณรทวีโชค อนันต์รัตน์มณี สามเณรสิทธิโชค พรหมดนตรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น