วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ลำดับศักดิ์กฎหมายไทย

ลำดับศักดิ์กฎหมายไทย 1.รัฐธรรมนูญ หมายถึงกฎหมายสูงสุดในการจัดการปกครองรัฐ รัฐธรรมนูญฉบับแรกของโลกในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1215 ขุนนางและพระราชาคณะจำนวน 25 คน ได้บังคับให้พระเจ้าจอห์นลงนามในเอกสารที่เรียกว่า "มหากฎบัตร" (The Great Charter, Magna Carta) ซึ่งเป็นสัญญาระหว่างพระมหากษัตริย์กับขุนนางและพระสงฆ์ โดยในมหากฎบัตรได้กำหนด ถึงการจัดองค์กรและการบริหารอำนาจของสภาสูง (Magnum Concillium) และกำหนดว่าพระมหากษัตริย์จะเก็บภาษีบางอย่างตามที่กำหนดไว้โดยมิได้รับความเห็นชอบจากสภาสูงมิได้ จะจับกุมคุมขังบุคคลได้ก็ต่อเมื่อ มีคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย มหากฎบัตรนี้ นักกฎหมายบางท่านเห็นว่า เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก รัฐธรรมนูญในสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส ในภาษาของประเทศทั้งสอง คำว่ารัฐธรรมนูญต่างใช้คำว่า Constitution ซึ่งแปลว่า การสถาปนา หรือการจัดตั้ง ซึ่งหมายถึงการสถาปนาหรือจัดตั้งรัฐนั่นเอง โดยทั้งสองประเทศมีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ประเทศอังกฤษไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร 2.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่ตราขึ้นในรูปแบบพระราชบัญญัติ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติให้มีขึ้นอีกรูปแบบหนึ่งในระบบบทกฎหมายไทย เพื่อกำหนดรายละเอียดซึ่งเป็นกฎเกณฑ์สำคัญเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฯ บางมาตราที่บัญญัติหลักการไว้อย่างกว้าง ๆ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ให้มีความกระจ่างแจ้ง ชัดเจนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องบัญญัติไว้ในตัวบทแห่งรัฐธรรมนูญให้มีความยาวมากเกินไป และเพื่อที่จะได้สะดวกแก่การแก้ไขเพิ่มเติม โดยไม่ต้องดำเนินการตามวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ทำได้ยากกว่าการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ 3.พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คือบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่เป็นประจำตามปรกติ เพื่อวางระเบียบบังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะสูงกว่าบทกฎหมายอื่น ๆ นอกจากรัฐธรรมนูญ ก่อนประกาศใช้บังคับ พระราชบัญญัติมีอยู่ชนิดเดียว แต่บัดนี้รัฐธรรมนูญฯ ได้บัญญัติให้มีพระราชบัญญัติขึ้นอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ” ซึ่งรัฐธรรมนูญฯ บังคับให้ตราขึ้นเพื่อกำหนดสาระสำคัญในรายละเอียดในกรณีบางเรื่องที่รัฐธรรมนูญกำหนดหลักการไว้ เช่น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 การตราพระราชบัญญัตินั้นจะทำได้ก็แต่โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา และเมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ก็มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ คำว่า พระราชบัญญัติ เป็นชื่อเรียกกฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นผู้อนุญาต สำหรับประเทศอื่นที่พระมหากษัตริย์ไม่ใช่ผู้อนุญาต (เช่นประธานาธิบดี) จะเรียกว่า รัฐบัญญัติ 4.พระราชกำหนด หมายถึง กฎหมายรูปแบบหนึ่งซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของคณะรัฐมนตรี โดยอาศัยอำนาจตามที่รัฐธรรมนูญวางไว้ว่าเป็นกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะหรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือในกรณีที่มีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตรา ซึ่งจะต้อง 5.พระราชกฤษฎีกา คือ บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี มีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย และพระราชกำหนด

กำหนดอบรมธรรมศึกษา ณ โรงเรียนไม้เรียงประชาสรรค์

ตารางอบรมธรรมศึกษา ณ โรงเรียนไม้เรียงประชาสรรค์ วัน/เดือน/ปี ภาคเช้า ( 08:30 -11:00 ) ภาคบ่าย ( 08:30 -11:00 ) หมายเหตุ 22 พ.ย. 2555 วิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม โดย พระมหานาวิน ภทฺรตนฺติเมธี วิชาธรรมะ โดย พระอาจารย์สันติสุข สนฺติสุขโข เฉพาะชั้น ธ.ศ.ตรี 23 พ.ย. 2555 วิชาพุทธประวัติ โดย พระมหานาวิน ภทฺรตนฺติเมธี วิชาเบญจศีล-เบญจธรรม โดย สามเณรโสภณ รอดสีเสน เฉพาะชั้น ธ.ศ.ตรี 27 พ.ย. 2555 วิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม (โท+เอก) โดย พระมหานาวิน ภทฺรตนฺติเมธี วิชาธรรมะ ธ.ศ.โท โดย พระอาจารย์สันติสุข สนฺติสุขโข วิชาธรรมะ ธ.ศ.เอก โดย พระมหานาวิน ภทฺรตนฺติเมธี ธ.ศโทและเอก 28 พ.ย. 2555 วิชาอนุพุทธประวัติ ธ.ศ.โท โดย พระมหานาวิน ภทฺรตนฺติเมธี วิชาพุทธานุพุทธประวัติ ธ.ศ.เอก โดย พระอาจารย์สันติสุข สนฺติสุขโข วิชาอุโบสถศีล ธ.ศ.โท โดย สามเณรโสภณ รอดสีเสน วิชากรรมบถ ๑๐ ธ.ศ.เอก โดย พ.สันติสุข และ พ.ม.นาวิน ธ.ศโทและเอก

วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

“กฎบัตรอาเซียนเพื่อคุณ”

ตลอดช่วงเวลากว่า 40 ปี อาเซียนได้พัฒนาตนเองจนเป็นองค์กรที่มีความสำเร็จในระดับสำคัญในหลายด้านที่เป็นที่ยอมรับของประชาคมระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นบทบาทการสร้างบรรยากาศของสันติภาพและการอยู่ร่วมกันโดยสันติของประเทศในภูมิภาค การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน เรื่อยไปจนถึงการร่วมกันแก้ไขปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นภายในประเทศสมาชิกอาเซียน อย่างไรก็ดี ปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการรวมตัวกันของอาเซียน รวมถึงความพยายามในการจัดตั้ง ‘ประชาคมอาเซียน’ ภายในปี 2558 ได้แก่ การที่อาเซียนขาดกลไกที่บังคับในกรณีที่มีประเทศสมาชิกไม่ปฏิบัติตามความตกลงต่าง ๆ ของอาเซียน และการที่องค์กรอาเซียนเองไม่มีสถานะทางกฎหมาย (legal entity) ซึ่งบ่อยครั้งทำให้อาเซียนขาดความน่าเชื่อถือ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาข้างต้น เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนจึงได้ร่วมกันลงนามใน ‘กฎบัตรอาเซียน’ ซึ่งจะทำหน้าที่เสมือนเป็นธรรมนูญหรือกฎหมายสูงสุดของอาเซียน โดยการมีกฎบัตรอาเซียน มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ (1) เพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามเป้าหมายต่างๆ โดยเฉพาะความพยายามของอาเซียนที่จะรวมตัวกันเป็น ‘ประชาคม’ ภายในปี 2558 (2) สร้างกลไกที่จะส่งเสริมให้รัฐสมาชิกปฏิบัติตามความตกลงต่าง ๆ ของอาเซียน และ (3) ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่ใกล้ชิดและสร้างประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริงมากขึ้น โดยการบังคับใช้ของกฎบัตรฯ จะทำให้อาเซียนเป็นองค์กรทีมีกติกาของการดำเนินงานอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น ในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ข้างต้น กฎบัตรอาเซียน จะก่อให้เกิดการปรับปรุงและปรับเปลี่ยนโครงสร้างการดำเนินงานของอาเซียนครั้งสำคัญ เช่น (1) การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน (AICHR) ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่อาเซียนมีองค์กรเฉพาะที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของประเทศสมาชิกอาเซียน (2) การจัดตั้งคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกระดับเอกอัครราชทูตจากทุกประเทศสมาชิกอาเซียน โดยคณะกรรมการนี้ มีภารกิจหลักในการให้นโบายและติดตามการทำงานของอาเซียนและสำนักเลขาธิการอาเซียน และ (3) การเพิ่มบทบาทของประธานอาเซียนเพื่อให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที รวมถึงการจัดให้มีการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน 2 ครั้งต่อปี ซึ่งเพิ่มจากที่ผู้นำอาเซียนพบเพื่อหารือกันเพียงปีละหนึ่งครั้ง และ (4) การจัดตั้งกลไกให้องค์กรภาคประชาสังคมของประเทศสมาชิกอาเซียนได้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและดำเนินงานของอาเซียนมากขึ้น เป็นต้น จากบริบทข้างต้น ก็คงจะเห็นได้ในระดับหนึ่งว่า ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากการมีกฎบัตรอาเซียน ไม่ใช่ใครที่ไหน หากแต่เป็นประชาชนของประเทศสมาชิกอาเซียนโดยทั่วไป รวมถึงประชาชนไทยด้วย ดังนั้น ในโอกาสที่ไทยได้ดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนในปี 2552 ไทยจึงได้กำหนดคำขวัญของการดำรงตำแหน่งประธานฯ ว่า ‘กฎบัตรอาเซียนเพื่อประชาชนอาเซียน’ หรือ‘ASEAN Charter for ASEAN Peoples’ ในภาษาอังกฤษ

ไทยได้ประโยชน์อย่างไรในสมาคมอาเซียน (ASEAN)

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับอาเซียนและประเทศไทยอย่างน้อย 3 ประการ คือ 1. อาเซียนกำลังจะมุ่งพัฒนาไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 2. กฎบัตรอาเซียน ซึ่งถือเป็นธรรมนูญฉบับแรกของอาเซียนในรอบ 40 ปี นับแต่มีการจั้ดตั้งและเป็นครั้งแรกที่มีการให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนซึ่งกำลังจะมีผลบังคับใช้ และ 3. ไทยกำลังจะเข้ารับตำแหน่งประธานอาเซียนตั้งแต่เดือนกรกฎาคมศกนี้ ไปจนถึงธันวาคมศกหน้า ไทยจะได้ประโยชน์อะไร ถามว่าทำไมต้องสร้างประชาคมอาเซียนและเมื่อสร้างแล้วไทยจะได้ประโยชน์อะไร อาเซียนเป็นกลุ่มความร่วมมือระดับภูมิภาคกลุ่มแรกๆ ของโลกที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่ ปี 2510 โดยที่ผ่านมา แม้ภูมิภาคนี้จะต้องเผชิญกับภัยคุกคามที่หลากหลาย ตั้งแต่ภัยคอมมิวนิสต์ สงครามอินโดจีน การแข่งขันกันระหว่างมหาอำนาจเพื่อเข้ามามีอิทธิพลในภูมิภาคในยุคสงครามเย็น แต่ความร่วมมือในกรอบอาเซียนก็ทำให้ประเทศสมาชิกในภูมิภาคนี้มีความสงบสุข มั่นคง ปราศจากการใช้อาวุธเพื่อทำสงครามมาเป็นเวลากว่า 40 ปีโดยมีผลทำให้เกิดบรรยากาศที่เอื้อต่อการพัฒนาของประเทศสมาชิกทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน โลกยุคโลกาภิวัตน์เป็นโลกของความร่วมมือในระดับภูมิภาคเพื่อผลประโยชน์ทางความมั่นคง เศรษฐกิจ การค้า และต่อต้านภัยคุกคามต่างๆ ประเทศในภูมิภาคอื่นๆ เช่น ยุโรป อเมริกา เอเชีย และแอฟริกาต่างก็รวมกลุ่มกันเพื่อสร้างโอกาสและอำนาจต่อรอง และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางการค้าและการลงทุน ทั้งสหภาพยุโรป (EU) เขตการค้าเสรีในภูมิภาคอเมริกาเหนือ (NAFTA) สหภาพแอฟริกา (AU) เป็นต้น ในบริบทเช่นนี้ ประเทศไทยประเทศเดียวมีประชากรแค่ 60 กว่าล้านคน มี GDP 4 พันกว่าล้านบาท คงไม่สามารถแข่งขันกับกลุ่มประเทศเหล่านี้ หรือมหาอำนาจใหม่ทางเศรษฐกิจอย่างจีนหรืออินเดียได้ แต่ถ้ารวมกันเป็นประชาคมอาเซียนที่เป็นตลาดและฐานการผลิดเดียวสำเร็จ เราจะมีประชากรรวมเกือบ 600 ล้านคน หรือ 1 ใน 10 ของประชากรโลก ที่มี GDP รวมเกือบ 30,000 ล้านบาท นับเป็นตลาดและแหล่งเงินทุนที่มีศักยภาพมหาศาล และยังเป็นฐานของไทยในการค้าขายกับตลาดอื่นๆ นอกภูมิภาคอีกด้วย นับตั้งแต่มีการก่อตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนในปี 2535 เป็นต้นมา มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับอาเซียนก็เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด จนขณะนี้คิดเป็นเกือบ 20% ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย และทำให้อาเซียนได้ก้าวขึ้นมาเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทยแซงหน้าสหรัฐฯ และยุโรปไปแล้ว การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนยังจะช่วยกระชับความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรมเพื่อแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เช่น ปัญหาความยากจน โรคติดต่อ ยาเสพติด สิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติทางธรรมชาติ แรงงาน ผู้ด้อยโอกาส โดยสิ่งเหล่านี้จะนำให้ประชาชนไทยและอาเซียนจะอยู่ในสังคมที่มีความแข็งแกร่ง มีจริยธรรมและธรรมาภิบาล และก่อให้เกิดความพอเพียงในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข AEC คืออะไร อาเซียนให้ความสำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจร่วมกันอย่างต่อเนื่อง หลังจากการดำเนินการไปสู่การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟตา (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ได้บรรลุเป้าหมายในปี 2546 ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 8 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 ได้เห็นชอบให้อาเซียนกำหนดทิศทางการดำเนินงานเพื่อมุ่งไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEANEconomic Community: AEC) ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European EconomicCommunity: EEC) และให้อาเซียนปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานภายในของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในการประชุมสุดยอดอาเซียนในปี 2546 ผู้นำอาเซียนได้ออกแถลงการณ์ Bali Concord II เห็นชอบให้มีการรวมตัวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ภายในปี 2563 และให้เร่งรัด การรวมกลุ่มเพื่อเปิดเสรีสินค้าและบริการสำคัญ 11 สาขา (priority sectors) ได้แก่ การท่องเที่ยว การบิน ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ สินค้าเกษตร ประมง เทคโนโลยีสารสนเทศและสุขภาพ เป้าหมายของ AEC อาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ภายในปี 2563 (ค.ศ.2020) โดยมีแนวคิดว่าอาเซียนจะกลายเป็นเขตการผลิตเดียว ตลาดเดียว หรือ Single market and production base นั่นหมายถึงจะต้องมีการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตได้อย่างเสรี สามารถดำเนินกระบวนการผลิตที่ไหนก็ได้ โดยสามารถใช้ทรัพยากรจากแต่ละประเทศ ทั้งวัตถุดิบและแรงงานมาร่วมในการผลิต มีมาตรฐานสินค้า กฎเกณฑ์กฎระเบียบเดียวกัน

สมาคมอาเซียน (ASEAN)

ASEAN Community คืออะไร อาเซียน (ASEAN) ประกอบด้วย 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย (2510) สิงคโปร์ (2510) อินโดเนเซีย (2510) มาเลเซีย (2510) ฟิลิปปินส์ (2510) บรูไน (2527) เวียตนาม (2538) ลาว (2540) พม่า (2540) กัพูชา (2542) มีประชากรรวมกันประมาณ 570 ล้านคน มีขนาดเศษฐกิจที่โตมาก เมื่อเดือนตุลาคม 2546 ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า ข้อตกลงบาหลี 2 เห็นชอบให้จัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) คือการให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) เนื่องจากการแข่งขันรุนแรง เช่น อัตราการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของจีนและอินเดียสูงมากในช่วงที่ผ่านมา ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ที่ชะอำ หัวหิน เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2552 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ. 2009-2015) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา 1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community – ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง 2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน โดย (ก)มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020 (ข)ทําให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base) (ค)ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาและช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน (ง)ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคตลาดการเงินและตลาดทุน การปะกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพิ้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน กลุ่มสินค้าและบริการนำร่องที่สำคัญ ที่จะเกิดการรวมกลุ่มกัน คือ สินค้าเกษตร / สินค้าประมง / ผลิตภัณฑ์ไม้ / ผลิตภัณฑ์ยาง / สิ่งทอ / ยานยนต์ /อิเล็กทรอนิกส์ / เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) / การบริการด้านสุขภาพ, ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน) กำหนดให้ปี พ.ศ. 2558 เป็นปีที่เริ่มรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ โดยผ่อนปรนให้กับประเทศ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียตนาม ประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ทำ Roadmap ทางด้านท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน) 3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม ประโยชน์ที่ไทยได้รับคืออะไร 1.ประชากรเพิ่มเป็น 600 ล้านคนโดยประมาณ ทำให้เพิ่มศักยภาพในการบริโภค เพิ่มอำนาจการต่อรองในระดับโลก 2.Economy Scale ยิ่งผลิตมาก ยิ่งต้นทุนต่ำ 3.มีแรงดึงดูดเงินลงทุนที่อยู่นอกอาเซียนสูงขึ้น 4.สิบเสียงย่อมดังกว่าเสียงเดียว ผลกระทบมีอะไรบ้าง? 1.การศึกษาในภาพใหญ่ของโลก มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ต้องไม่ให้การเปลี่ยนแปลงนี้มากระชากลากเราไปอย่างทุลักทุเล เราต้องเตรียมความพร้อมทันที ตลอดเวลา โดยเฉพาะบุคลากรต้องตามให้ทันและยืดหยุ่นปรับตัวให้รับสถานะการณ์ได้ 2.ภาษาอังกฤษจะเป็นภาษากลางของ ASEAN บุคลากรและนักศึกษา ต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ ให้สามารถสื่อสารได้ 3.ปรับปรุงความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ เพื่อลดข้อขัดแย้งในภูมิภาคอาเซียน (Conflict Management) จึงต้องคำนึงถึงการสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง ASEAN ให้มากขึ้น 4.สร้างบัณฑิตให้สามารถแข่งขันได้ใน ASEAN เพิ่มโอกาสในการทำงาน ไม่เช่นนั้น จะถูกแย่งงานเพราะเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน/บริการอย่างเสรี คณะกรรมการวิชาชีพ สภาวิชาชีพ ต้องเตรียมการรองรับผลกระทบนี้อย่างเร่งด่วน 5.โอกาสในการเป็น Education Hub โดยอาศัยความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์ของประเทศไทย แต่ต้องเน้นในเรื่องของคุณภาพการศึกษาเป็นตัวนำ 6.เราต้องการเครื่องมือในการ Transform คน การเรียนแบบ PBL หรือ Project Based Learning น่าจะได้มีการวิจัยอย่างจริงจังและนำมาปรับใช้ ห้องเรียนไม่ใช่แค่ห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆอีกต่อไป ต้องเพิ่มการเรียนจากชีวิตจริง ลงมือทำเป็นทีม อยู่คนละประเทศก็ทำร่วมกันได้ด้วยไม่มีข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ประเด็นนี้ อาจารย์จะสอนได้ยากขึ้น แต่เป็นผู้ที่ช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ แสดงว่า อาจารย์ต้องมีความพร้อมมากกว่าเดิมและเก่งจริงๆMRAs การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 เมื่อ 7 ตุลาคม 2546 ที่บาหลี อินโดนีเซีย ได้กำหนดจัดทำข้อตกลงร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements : MRAs)เกี่ยวกับคุณสมบัติของวิชาชีพหลัก แรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี โดยจะเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2558 ในเบื้องต้น ได้ทำข้อตกลงร่วมกันแล้ว 7 สาขา คือ

วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555

จดหมายเหตุลาลูแบร์

จดหมายเหตุลาลูแบร์ จดหมายเหตุลาลูแบร์ (Du Royaume de Siam) เป็นจดหมายเหตุพงศาวดารที่กล่าวถึงราชอาณาจักรสยามในปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. 2230 โดย มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ อัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาทูลพระราชสาส์น ณ ประเทศสยาม ได้พรรณาถึงกรุงศรีอยุธยาไว้อย่างกว้างขวาง แม้ว่าเขาจะอยู่เพียง 3 เดือน 6 วัน จึงต้องอาศัยความรู้จากหนังสือที่ชาวตะวันตกซึ่งมากรุงสยามแต่ก่อนแต่งไว้อย่างคลาดเคลื่อนบ้าง สอบถามจากคนที่ไม่มีความรู้บ้าง ฟังจากคำบอกเล่าซึ่งจริงบ้างไม่จริงบ้าง บางเรื่องก็คาดเดาเอาเอง จดหมายเหตุลาลูแบร์ฉบับแปลในประเทศไทยมีอยู่ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงพระนิพนธ์แปล โดยทรงแปลมาจากฉบับภาษาอังกฤษ และฉบับแปลของสันต์ ท.โกมลบุตร จากต้นฉบับภาษาฝรั่งเศส จุดประสงค์ของการเขียนคือการที่มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ได้ออกเดินทางจากท่าเรือเมือง เบรสต์ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2230 มาทอดสมอที่กรุงสยาม เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2230 เดินทางกลับเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2231 ขึ้นบกที่ท่าเรือเมืองเบรสต์ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2231 ความมุ่งหมายในการเขียน เพ่งเล็งในด้านอาณาเขต ความอุดมสมบูรณ์ คุณภาพของดินในการกสิกรรม ภูมิอากาศเป็นประการแรก ต่อมาเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีโดยทั่ว ๆ ไป และเฉพาะเรื่องเฉพาะราย เรื่องเกี่ยวกับรัฐบาล และศาสนาจะกล่าวในตอนท้าย และได้รวบรวมบันทึกความทรงจำ เกี่ยวกับประเทศนี้ ที่เขาได้นำติดตัวมาด้วยไปผนวกไว้ตอนท้าย และเพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จักชาวสยามโดยแจ่มชัด จึงได้เอาความรู้เกี่ยวกับอินเดีย และจีนหลายประการมาประกอบด้วย นอกจากนั้นยังได้แถลงว่าจะต้องสืบเสาะให้รู้เรื่องราว พิจารณาสอบถาม ศึกษาให้ถึงแก่นเท่าที่จะทำได้ ก่อนเดินทางไปถึงประเทศสยาม ได้อ่านจดหมายเหตุทั้งเก่าและใหม่ บรรดาที่มีผู้เขียนขึ้นไว้เกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ ในภาคพื้นตะวันออก ถ้าไม่มีสิ่งดังกล่าว เขาอาจใช้เวลาสักสามปี ก็คงไม่ได้ข้อสังเกต และรู้จักประเทศสยามดี จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ เป็นจดหมายเหตุพงศาวดาร ราชอาณาจักสยามในปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ.๒๒๓๐ ลา ลูแบร์ เป็นอัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาทูลพระราชสาส์น ณ ประเทศสยาม ได้พรรณาถึงกรุงศรีอยุธยาไว้อย่างกว้างขวาง แม้ว่าเขาจะอยู่เพียง ๓ เดือน ๖ วัน จึงต้องอาศัยความรู้จากหนังสือที่ชาวตะวันตกซึ่งมาจากกรุงสยามแต่ก่อนแต่งไว้อย่างคลาดเคลื่อนบ้าง สอบถามจากคนที่ไม่มีความรู้บ้าง ฟังจากคำบอกเล่าซึ่งจริงบ้างไม่จริงบ้าง บางเรื่องก็คาดเดาเอาเอง หนังสือที่ ลา ลูแบร์ เขียนถึง เสนาบดีมีความว่า ตามที่ได้สั่งการให้เขาไปกรุงสยาม แล้วสังเกตเรื่องราวนานาประการที่แปลกๆเกี่ยวกับประเทศนั้น บรรดาที่เขาได้พบเห็นมาให้ถูกต้องที่สุดเท่าที่จะทำได้ ความมุ่งหมายของจดหมายเหตุ เขาได้ออกเดินทางจากท่าเรือเมืองเบรสต์ เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๑๙๘๗ (พ.ศ.๒๒๒๙) มาทอดสมอที่กรุงสยาม เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๑๙๘๗(พ.ศ.๒๒๓๐)เดินทางกลับเมื่อวันที่ ๓ มกราคม ๑๖๘๘ (พ.ศ.๒๒๓๐)ขึ้นบกที่ท่าเรือเมืองเบสต์ เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๑๖๘๘ (พ.ศ.๒๒๓๑) ความมุ่งหมายในการเขียน เพ่งเล็งในด้านอาณาเขตความอุดมสมบูรณ์ คุณภาพของดินในการกสิกรรม ภูมิอากาศเป็นประการแรก ต่อมาเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีโดยทั่วๆไป และเฉพาะเรื่องเฉพาะราย เรื่องเกี่ยวกับรัฐบาลและศาสนาจะกล่าวในตอนท้าย เขาได้รวบรวมบันทึกความทรงจำ เกี่ยวกับประเทศนี้ ที่เขาได้นำติดตัวมาด้วย ไปผนวกไว้ตอนท้าย และเพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จักชาวสยามโดยแจ่มชัด จึงได้เอาความรู้เกี่ยวกับอินเดีย และจีนหลายประการมาประกอบด้วย เขาแถลงว่าจะต้องสืบเสาะให้รู้เรื่องราว พิจารณาสอบถาม ศึกษาให้ถึงแก่นเท่าที่จะทำได้ ก่อนเดินทางไปถึงประเทศสยาม ได้อ่านจดหมายเหตุทั้งเก่าและใหม่ บรรดาที่มีผู้เขียนขึ้นไว้เกี่ยวกับประเทศต่างๆ ในภาคพื้นตะวันออก ถ้าไม่มีสิ่งดังกล่าว เขาอาจใช้เวลาสักสามปี ก็คงไม่ได้ข้อสังเกตและรู้จักประเทศสยามดีเท่านี้ ตอนที่หนึ่งราชอาณาจักรสยาม บทที่หนึ่ง ลักษณะทางภูมิประเทศ ๑.เหตุใดราชอาณาจักรนี้จึงไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันนัก การเดินเรือได้ช่วยให้เรารู้จักตำบลชายฝั่งของอาณาจักรนี้บ้างและมีผู้เขียนไว้บ้างแล้ว แต่ในส่วนที่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน แทบจะไม่รู้เรื่องราวกันเลย เพราะชาวสยามไม่ได้ทำแผนที่ขึ้นไว้ หรือหากทำไว้ก็คงปกปิดเป็นความลับ แผนที่ที่เขานำมาแสดง เป็นงานของชาวยุโรปผู้หนึ่งทำไว้ โดยได้ทวนแม่น้ำไปถึงอาณาเขต ๒.พรมแดนด้านเหนือ ไปถึงองศาที่ ๒๒ และโดยที่อ่าวสยามอยู่ที่ ๑๓ องศา ดังนั้นขนาดของพื้นที่จะตก ประมาณ ๑๗๐ ลี้ ตามวัดขึ้นไปเป็นเส้นตรง โดยคิด ๒๐ ลี้ต่อองศาละติจูด(ลี้กิโลเมตริก ๔ กิโลเมตร ลี้บก ๔,๔๔๔ กิโลเมตร ลี้ทะเล ๕,๕๕๖ กิโลเมตร) ๓.เชียงใหม่ และทะเลสาบ ชาวสยามกล่าวว่าเชียงใหม่อยู่ห่างจากพรมแดนราชอาณาจักรขึ้นไป ระยะเดินทาง ๑๕ วัน(๖๐-๗๐ ลี้)การนับวันคือ การเดินเรือทวนน้ำ มีผู้เล่าว่าเมื่อ ๓๐ ปีที่ผ่านมา พระเจ้าอยู่หัวได้ยกทัพไปตีเมืองนั้นแล้วทิ้งให้ร้าง โดยกวาดต้อนคนมาหมด ต่อจากนั้นว่าพระเจ้าอังวะ ซึ่งเมืองพะโค เป็นเมืองขึ้นได้มาซ่องสุมผู้คนขึ้นใหม่ แต่ชาวสยามที่ขึ้นไปในกองทัพครั้งนั้น ไม่มีใครได้เห็น หรือรู้ว่าทะเลสาบลือนาม ซึ่งนึกภูมิศาสตร์ของเราระบุว่่าเป็นต้นแม่น้ำ (เจ้าพระยา) เมื่อทวนน้ำขึ้นไปต้นน้ำประมาณ ๕๐ ลี้ ก็มีลำน้ำพอที่เรือขนาดย่อมๆจะผ่านขึ้นไปได้เท่านั้น ๔.ประเทศสยามเป็นที่ราบระหว่างหุบเขา มีอาณาเขตกั้นด้วยภูเขาสูง ตั้งแต่ด้านทิศตะวันออกจรดทิศเหนือ แบ่งเขตกับราชอาณาจักลาว ทางทิศเหนือกับทิศตะวันตกก็มีภูเขากั้น แบ่งเขตกับราชอาณาจักรพะโคและอังวะ ระหว่างเทือกเขาทั้งสองเป็นที่ราบใหญ่ บางตอนกว้าง ๕๐-๑๐๐ ลี้ มีแม่น้ำไหลผ่านไหลลงอ่าวสยามแยกออกเป็นสามแคว ๕.เมืองที่ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำสายนี้ ลึกจากปากน้ำ ๗ ลี้ เป็นเมืองบางกอก ชาวสยามไม่นิยมปลูกบ้านเรือนอยู่ตามชายฝั่งทะเลนัก มักชอบอยู่ตามริมแม่น้ำ ที่ขึ้นล่องสะดวกแก่การค้าทางทะเล ชื่อตำบลมักขึ้นต้นด้วยบ้าน ๖.สวนผลไม้บางกอก มีอาณาบริเวณยาวไปตามริมฝั่งแม่น้ำ ถึง ๔ ลี้ จรดตลาดขวัญ ๗.เมืองอื่นๆบนฝั่งแม่น้ำ ตำบลสำคัญคือ แม่ตาก เป็นเมืองเอก ตั้งอยู่ทางทิศเหนือหนพายัพ ถัดไปเป็นเมืองเทียนทอง(เชียงทอง)กำแพงเพชร(กำแปง)แล้วถึงเมืองนครสวรรค์ ชัยนาท ตลาดขวัญ ตลาดแก้ว และบางกอก ถึงทางชัยนาทกับสยามค่อนไปทางตะวันออกเป็นเมืองละโว้ ตรงละติจูด ๑๔ ๔๒ ๓๒ ตามที่บาทหลวงเยซูฮิตได้คำนวณไว้ พระเจ้ากรุงสยาม โปรดไปอยู่เมืองนั้นเกือบตลอดปี เมืองเทียนทองร้างไปคงเนื่องจากสงครามเก่าแก่กับพระโค ๘.ลำน้ำที่เรียกว่าแม่น้ำเหมือนกัน ที่เมืองนครสวรรค์ เป็นแควร่วมของแม่น้ำสายใหญ่ไหลจากเหนือ นักภูมิศาสตร์ฝรั่งเศสบอกว่าไหลจากทะเลสาบเชียงใหม่ แต่ยืนยันว่าต้นน้ำมาจากเทือกเขา ซึ่งอยู่ทางเหนือของเมืองขึ้นไปไม่ไกลนัก ไหลผ่านเมืองฝาง พิชัย พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ และบรรจบกันแม่น้ำสายอื่น เมืองพิษณุโลก มีเจ้าสืบวงศ์เช่นเมืองตากมีการค้าขายมาก มีหอรบ ๑๔ แห่งอยู่ละติจูด ๑๙ เมืองนครสวรรค์ อยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองพิษณุโลกกับเมืองสยาม(อยุธยา)ระยะทางขาขึ้น ๒๔ วัน โดยทางเรือ แต่อาจร่นมาเป็น ๑๒ วัน ถ้ามีฝีพายและพายอย่างเร่งรีบ ๙.เมืองไม้ เมืองเหล่านี้ไม่ผิดกับเมืองอื่นๆ ในสยามคือเป็นหมู่เรือนจำพวกกระท่อม ล้อมรอบด้วยรั้วไม้เสา บางที่มีกำแพงและอิฐ แต่มีน้อย ๑๐.ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวเมืองฝาง เพราะเมืองนั้นเป็นที่เก็บพระทันตธาตุ ชาวสยามจึงสร้างวิหารเจดีย์ไว้เพื่อบูชา บางคนเรียกเมืองฟัน ทำให้มีชาวพะโค(มอญ)และชาวลาว นอกจากชาวสยามมาชุมนุมนมัสการด้วย ๑๑.ความเชื่อที่พระบาท อยู่ห่างเมืองละโว้ไปทางตะวันออก ๕-๖ ลี้ ๑๒.พระบาทคือ พิมพ์เท้ามนุษย์ โดยฝีมือช่างสลักอย่างหยาบๆ ลงในหิน ลึก ๑๓-๑๔ นิ้ว ยาวกว่าเท้าคนทั่วไป ๕-๖ เท่า กว้างทำนองเดียวกัน พระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปนมัสการเป็นประจำทุกปี โดยขบวนพยุหยาตราเป็นพระราชพิธีใหญ่ พระพุทธบาทหุ้มด้วยแผ่นทองคำ อยู่ในมหามณฑปที่สร้างสวมไว้ ตามคำให้การของผู้เฒ่าผู้แก่ พระบาทนี้เพิ่งมีตำนานมาได้ไม่เกิน ๙๐ ปี ๑๓.มูลเหตุความเชื่อในสิ่งศักดิ์ิสิทธิ์นี้ คนสยามเป็นเพียงนักลอกแบบที่หยาบๆพงศาวดารอินเดียได้บันทึกเรื่องพระเจ้ากรุงสิงหฬ(ซีลอน)องค์หนึ่งได้สงวนเขี้ยวลิงตัวหนึ่งไว้ด้วยความนับถือยิ่งยวด ซึ่งชาวอินเดียถือว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุองค์หนึ่ง พระองค์พยายามไถ่คืนจากอุปราชแห่งอินเดียว ซึ่งยึดเขี้ยวนั้นมาจากชาวอินเดีย แต่ไม่เป็นผล อุปราชอินเดียได้เผาเขี้ยวนั้นแล้วทิ้งแมน้ำไป ๑๔.อะไรคือรอยเท้าอาดัมในลังกา ชาวปอร์ตุเกศเรียกรอยเท้าในสิงหลว่า เท้าอาดัมและพวกเขาเชื่อว่าลังกานั้นคือ "สวนสวรรค์ในไบเบิล" รายงานวิชาประวัติศาสตร์ เสนอ อาจารย์ พระมหานาวิน ภทฺรตนฺติเมธี จัดทำโดย ส.ณ.พัฒนะ สมบัติ (หัวหน้ากลุ่ม) ส.ณ.ถิรวัฒน์ เพ็ชราช(ผู้ช่วย)

หลักฐานประเภทพงศาวดาร

หลักฐานประเภทพงศาวดาร พงศาวดาร คือ พงศาวดาร เป็นคำรวมระหว่าง พงศ กับ อวตาร ซึ่งหมายความว่า การอวตารของเผ่าพันธุ์ บางแห่งเขียนว่า พระราชพงศาวดาร ในที่นี้หมายความถึง การอวตารของเทพเจ้าในศาสนาฮินดู (พระนารายณ์) ดังนั้น พงศาวดารจึงเป็นเรื่องราวที่บันทึกเหตุการณพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของ ประเทศชาตินั้น หรือพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ที่เกี่ยวกับประเทศชาติหรือศาสนาเป็น ส่วนใหญ่ พงศาวดาร ในฐานะหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ปัจจุบันมีการถกเถียงกันเรื่องความน่าจะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า เป็นหลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานชั้นรอง เพราะมีการเขียนพงศาวดารหลายฉบับในลักษณะที่คล้ายกันแต่แตกต่างกันในเนื้อหา และรายละเอียดประกอบ กับการใช้ศักราชในพงศาวดารไม่สอดคล้องกันบางใช้ มหาศักราช บางใช้จุลศักราช และพงศาวดารมีการเขียนขึ้นภายหลังเหตุการณ์ เช่น พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ (พ.ศ.2223)เขียนขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่กล่าวถึงก่อนการสถาปนากรุงศรอยุธยา เป็นต้น 1 พงศาวดาร ในความหมายของ กรมพระยาดำรง คือ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ พูดง่ายๆ คือ กรมพระยาดำรง เห็นชอบที่จะเรียกประวัติศาสตร์ว่า พงศาวดารมากกว่า ( อาจจะเป็นเพราะเรียกจนติดปาก ) ดูรายละเอียดได้ในสานส์สมเด็จ 2 พงศาวดาร คือ การบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ โดยลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง ซึ่งจะไม่มีความคิดเห็นของผู้บันทึกสอดแทรกเข้าไปมากนัก หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เป็นคำให้การ หรือจดหมายเหตุ ที่ทางราชสำนักเป็นผู้บันทึกขึ้น 5 อันดับหนังสือเก่าหายาก ที่เซียนหนังสือเก่าลงความเห็นว่าทั้งหายาก และมีราคาแพง แต่ไม่ได้เรียงลำดับตามสนนราคา หากขึ้นอยู่กับความหายากเป็นสำคัญ 1.ประชุมพงศาวดารภาค 1-82 หนังสือที่รวบรวมพงศาวดารต่างๆ และตำนานเก่าแก่ที่สำคัญในสยามประเทศแต่โบราณมา มีทั้งหมด 82 ภาค ตั้งแต่ภาคแรกที่ตีพิมพ์ปี พ.ศ.2456 จนถึงภาค 82 ที่พิมพ์ปี พ.ศ.2537 ราคาซื้อขายปัจจุบันอยู่ที่ชุดละ 2 แสนบาท 2.ราชกิจจานุเบกษา ร.5 เป็นเอกสารที่หายากมาก มีการนำมารวบรวมได้ทั้งหมดครบชุด 35 เล่ม ราคาซื้อขายปัจจุบันอยู่ที่ประมาณชุดละ 7 แสนบาท 3.จดหมายเหตุสยามไสมย เป็นหนังสือพิมพ์รายเดือน/รายสัปดาห์ที่ออกระหว่างปี พ.ศ.2425-2429 ต้นสมัยรัชกาลที่ 5 บรรณาธิการและผู้จัดพิมพ์คือหมอสมิท (Rev. Samuel J. Smith) มิชชันนารีชาวอังกฤษผู้บุกเบิกการพิมพ์ เท่าที่ปรากฏแก่สาธารณชนในปัจจุบัน หนังสือพิมพ์ฉบับนี้มีเหลืออยู่เพียงสองชุดในเมืองไทย ชุดหนึ่งเป็นของหอสมุดแห่งชาติ กับอีกชุดหนึ่งตกเป็นสมบัติของนักสะสมเอกชน และชุดหลังนี้เองที่ทางสำนักพิมพ์ต้นฉบับได้รับอนุญาตให้ถ่ายสำเนามาใช้เป็น ต้นฉบับในการพิมพ์ซ้ำครั้งนี้ ขณะที่ฉบับพิมพ์ครั้งแรกนั้นราคาพุ่งไปถึงหลักแสน 4.ธรรมศาสตร์วินิจฉัย มีทั้งหมด 4 เล่ม ราคาซื้อขายปัจจุบันอยู่ที่ชุดละ 2-3 แสนบาท 5.วชิรญาณวิเศษ เป็นหนังสือรายสัปดาห์ในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มออก พ.ศ.2429-2437 โดยพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าคคณางค์ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ขณะดำรงตำแหน่งสภานายกหอพระสมุดวชิรญาณ ได้ทรงนำเรื่องราวที่รวบรวมได้จากกรรมการ หรือสมาชิกของหอพระสมุด มาตีพิมพ์ออกเป็นวารสารหรือหนังสือ ซึ่งในหนังสือเล่มนี้เองที่เริ่มมีการแปลวรรณกรรมตะวันตกในรูปของนิทาน เช่น นิทานอีสปปกรณัม เพื่อสอนคติธรรมและให้ความบันเทิงเผยแพร่ในเมืองไทยเป็นครั้งแรก มีทั้งหมด 9 เล่ม ราคาซื้อขายปัจจุบันอยู่ที่ชุดละ 3 แสนบาท (อันดับ 6 คือ สาส์นสมเด็จ มีทั้งหมด 55 ภาค เป็นพระราชหัตเลขาส่วนพระองค์ที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงติดต่อกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศนรานุวัตติวงศ์ พิมพ์ครั้งที่หนึ่งเป็นหนังสือชุดที่พิมพ์งานศพ 55 ภาค พิมพ์ครั้งที่ 2 โดยคุรุสภานำมาพิมพ์เป็นเล่มแรก มีทั้งหมด 27 เล่ม) รายงานประวัติศาสตร์ เรื่อง หลักฐานประเภทพงศาวดาร เสนอ พระมหา นาวิน ภทฺรตนฺติเมธี จัดทำโดย 1. สามเณร ทิวาพร บำเพ็ญ 2. สามเณร ธนวัฒน์ สุขมี 3. สามเณร วรุต เหมือนหนู

ศิลาจารึก

ศิลาจารึก คือ เอกสารประเภทที่มีรูปอักษรเป็นร่องรอยลึกลงในเนื้อวัตถุต่าง ๆ ซึ่งสำเร็จด้วยกรรมวิธีจารึก เรียกว่า ศิลาจารึก เช่น รูปอักษรที่ปรากฎบนแผ่นศิลา รูปอักษรที่ปรากฎบนแผ่นไม้ เรียกว่า จารึกบนแผ่นไม้ รูปอักษรที่ปรากฎบนแผ่นโลหะ ซึ่งมีลักษณะสี่เหลี่ยมคล้ายใบลาน เช่น แผ่นทอง แผ่นเงิน แผ่นนาค เรียกว่า จารึกลานทอง จารึกลานทองแดง จารึกลานเงิน และจารึกลานนาค เป็นต้น ความสำคัญของจารึก คนสมัยโบราณจะจารึกอักษรไว้บนวัตถุเนื้อแข็ง มีสภาพคงทนถาวรมีอายุการใช้งานได้นาน เช่นผนังถ้ำ แผ่นศิลา แผ่นดินเผา แผ่นไม้ และแผ่นโลหะอื่น ๆ ด้วยวัตถุที่แหลมคม ซึ่งเรียกว่า เหล็กจาร อักษรที่จารึกจะเป็นข้อความที่บ่งบอกให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของผู้ทำจารึก หรือประกาศเรื่องราวของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ให้ผู้อื่นทราบถึงวัตถุประสงค์ของผู้ทำจารึก หรือประกาศเรื่องราวของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ให้ผู้อื่นทราบ โดยไม่มีเจตนาที่บันทึกไว้เพื่ออ่านเอง ฉะนั้น จารึกจึงเป็นหลักฐานทางเอกสารที่สำคัญ ที่สะท้อนให้ประชาชนในปัจจุบัน ได้เห็นภาพทางสังคมของบรรพชนแต่ละท้องถิ่นในอดีต แต่ละยุคสมัยได้เป็นอย่างดี ภาพที่สะท้อนออกมาจากข้อความของศิลาจารึกมีทั้งด้านประวัติศาสตร์ ลัทธิความเชื่อทางศาสนา ศิลปวัฒนธรรม อารยธรรม และธรรมเนียมประเพณีการดำรงชีวิตในสังคมเป็นต้น ซึ่งได้กลายเป็นมรดกตกทอดและพัฒนามาจนถึงสังคมปัจจุบัน อักษรที่ใช้จารึก เอกสารประเภทศิลาจารึก ที่พบในประเทศไทยมีรูปแบบอักษรต่าง ๆ ตามอิทธิพลวัฒนธรรมที่หลั่งไหลเข้ามาสู่ดินแดนบริเวณแถบนี้ในอดีต หรือที่เรียกว่า ดินแดนของประเทศไทย ในปัจจุบัน เมื่อแบ่งเป็นกลุ่มประเภทอักษรตามยุคสมัยแล้ว จะได้ดังนี้ ๑. อักษรปัลลวะ ๑๑. อักษรธรรมอีสาน ๒๐. อักษรเฉียงพราหมณ์ ๒.อักษรหลังปัลวะ ๑๒. อักษรไทยอีสาน ๒๑. อักษรอริยกะ ๓. อักษรมอญโบราณ ๑๓. อักษรไทยใหญ่ ๒๒. อักษรทมิฬ ๔. อักษรขอมโบราณ ๑๔. อักษรไทยย่อ ๒๓. อักษรจีน ๕. อักษรขอม ๑๕. อักษรขอมย่อ ๒๔. อักษรยาวี ๖ .อักษรมอญ ๑๖. อักษรพม่า ๒๕. อักษรสิงหฬ ๗.อักษรไทยสุโขทัย ๑๗. อักษรพม่าย่อ ๒๖. อักษรเทวนาครี ๘. อักษรธรรมล้านนา ๑๘. อักษรเฉียงขอม ๒๗. อักษรบาหลีโบราณ ๙. อักษรไทยล้านนา ๑๙. อักษรเฉียงคฤนถ์ ๒๘. รูปอักษรอื่น ๆ ๑๐. อักษรไทยอยุธยา อักษรศิลาจารึกที่พบในประเทศไทย เฉพาะที่สำคัญซึ่งมีอายุเก่าแก่ตามยุคสมัยที่พัฒนามาโดยลำดับ คือ ๑. อักษรปัลลวะ จากศิลาจารึกบ้านวังไผ่ เพชรบูรณ์ พ.ศ. ๑๐๙๓ อักษรปัลลวะ จากศิลาจารึกปราสาทเขาน้อย ปราจีนบุรี พ.ศ. ๑๑๘๐ รายงานเรื่องศิลาจารึก เสนอ อาจารย์ พระมหานาวิน ภทฺรตนฺติเมธี จัดทำโดย สามเณรสมพร บำเพ็ญ สามเณรทวีโชค อนันต์รัตน์มณี สามเณรสิทธิโชค พรหมดนตรี

หลักฐานประเภทโบราณสถาน-โบราณวัตถุ

ท้องพระโรงกรุงธนบุรี อาคารท้องพระโรงสร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2311 พร้อมกับการสถาปนากรุงธนบุรี เป็นราชธานี อาคารนี้มีรูปทรงแบบไทยประกอบด้วยพระที่นั่งสององค์เชื่อมต่อกัน ได้แก่ พระที่นั่งองค์ทิศเหนือ เรียกว่าท้องพระโรง หรือ วินิจฉัย อยู่ทางทิศเหนือใช้เป็นที่เสด็จ ออกขุนนาง และประกอบพระราชพิธีที่สำคัญมาแต่ครั้งกรุงธนบุรี และพระที่นั่งองค์ทิศใต้ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระที่นั่งองค์แรก เรียกกันว่า พระที่นั่งขวาง เป็นส่วนพระราชมณเฑียร อันเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ ในปัจจุบัน กองทัพเรือได้ใช้โถงท้องพระโรงภายในพระที่นั่งองค์ทิศเหนือ เป็นสถานที่ที่จัดงาน และประกอบพิธีสำคัญเป็นประจำ ส่วนพระที่นั่งขวาง ได้ใช้เป็นห้องรับรองบุคคลสำคัญ และเป็นห้องประชุมในบางโอกาส ป้อมนี้เดิมชื่อ "ป้อมวิไชยเยนทร์ " หรือ "ป้อมบางกอก" สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช โดยเจ้าพระยาวไชยเยนทร์ กราบบังคมทูลแนะนำให้สร้างขึ้น พร้อม ป้อมทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อสมเด็จพระเจ้ามหาราชทรงสถาปนา กรุงธนบุรีเป็นราชธานีได้ทรงสร้างพระราชวังในบริเวณป้อมแห่งนี้พร้อมกับปรับปรุงป้อม และพระราชทานนามใหม่ว่า "ป้อมวิไชยประสิทธิ์" ปัจจุบันป้อมวิไชยประสิทธิ์ใช้เป็นที่ ยิงสลุตในพิธีสำคัญต่างๆ และติดตั้งเสาธงเพื่อประดับธงราชนาวี แ ละธงผู้บัญชาการทหารเรือ ป้อมวิไชยเยนทร์ ป้อมนี้เดิมชื่อ "ป้อมวิไชยเยนทร์ " หรือ "ป้อมบางกอก" สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช โดยเจ้าพระยาวิไชยเยนทร์ กราบบังคมทูลแนะนำให้สร้างขึ้น พร้อม ป้อมทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนา กรุงธนบุรีเป็นราชธานีได้ทรงสร้างพระราชวังในบริเวณป้อมแห่งนี้พร้อมกับปรับปรุงป้อม และพระราชทานนามใหม่ว่า "ป้อมวิไชยประสิทธิ์" ปัจจุบันป้อมวิไชยประสิทธิ์ใช้เป็นที่ ยิงสลุตในพิธีสำคัญต่างๆ และติดตั้งเสาธงเพื่อประดับธงราชนาวี และธงผู้บันชาทหารเรือ ตำหนัก พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ตำหนักหลังนี้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อครั้งยังทรงดำรง พระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ และประทับที่พระราชวังเดิม ในระหว่างปี พ.ศ. 2367 - 2394 แต่หลังจากที่พระองค์ทรงได้รับพระราชทานบวรราชาภิเษก ได้ทรงย้ายไปประทับ ณ พระบวรราชวัง อาคารหลังนี้จึงได้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้า น้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ตัวอาคารมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเป็นแบบตะวันตก หรือเรียกว่า "ตึกแบบอเมริกัน" และถือได้ว่าเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงค์ชั้นสูง ที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นแบบตะวันตกหลังแรกๆ ที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ วัดเจ็ดยอด (วัดโพธาราม มหาวิหาร) วัดเจ็ดยอด เป็นวัดที่ชาวเชียงใหม่รู้จักกันดี เป็นเพราะมีเจดีย์เจ็ดยอด ตั้งอยู่นอกเมืองใกล้กับถนนซูปเปอร์ไฮเวย์สายเชียงใหม่ – ลำปาวัดเจ็ดยอด มีชื่อในอดีตอีกชื่อหนึ่ง คือ วัดโพธาราม มหาวิหาร ผู้ช่วยศาสตราจารย์นันทนา ปกป้อง กล่าวถึงประวัติวัดนี้ว่า เป็นวัดที่มีปัญหาเกี่ยวกับผู้สร้างอยู่หลายประเด็นด้วยกัน คือ ตาม ทฤษฎีของ Reinald Le May นักปราชย์ทางด้านโบราณคดีได้เสนอข้อ คิดเห็นในข้อนี้ว่า พญาเม็งรายเป็นผู้สร้าง เหตุผลก็คือพญาเม็งรายเป็นกษัตริย์เชียงใหม่เพียงพระองค์เดียวที่เคยเสด็จไป เยือนพุกามถึง 2 ครั้ง ซึ่งที่เมืองพุกามนั้น มีเจดีย์ที่ชื่อว่า มหาวิหารโพธิแห่งเมืองพุกาม พระเจ้าติโลมินโล(กษัตริย์พม่าซึ่งขึ้นครองราชย์ประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 ) เป็นผู้ถ่ายแบบจากเจดีย์พุทธคยาได้สร้างขึ้นไว้ พญาเม็งราย ทรงเห็นแบบอย่างจึงได้ถ่ายแบบมาสร้างแต่ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ หรือพงศาวดารโยนก ได้ระบุเอาไว้ว่า พระเจ้าติโลกราช (พ.ศ.1985 – พ.ศ.2030) เป็นผู้สร้างวัดนี้ขึ้นเพื่อฉลองพระพุทธศาสนาครบ 2000 ปี ในปี พ.ศ.1998 และพระราชทานนามว่า “วัดโพธาราม มหาวิหาร” เหตุที่ได้ชื่อนี้เพราะพระองค์ได้ต้นโพธิ์จากลังกามาปลูกไว้ในพระอาราม นอกจากเจดีย์เจ็ดยอด ดังกล่าวแล้วสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ได้แก่พระวิหารกำแพง ซุ้มประตู(ประตูโขง) รวมทั้งลวดลายปูนปั้น ได้สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าติโลกราช หลังสร้างเสร็จ โปรดเกล้าฯ ให้ทำการฉลองพระอารามนั้นเป็นการใหญ่ประมาณ พ.ศ.2020 ได้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกเป็นครั้งแรกของประเทศไทย และเป็นครั้งที่ 8 ของโลก ในสมัยพระเจ้าติโลกราชโดยมีธรรมทินเถระ วัดป่าตาลเป็นประธานในการทำสังคายนาปี พ.ศ.2053 ในสมัยพระเมืองแก้ว มีการสร้างอุโบสถขึ้นด้านทิศตะวันออกมีขนาดเล็ก ด้านหลังอุโบสถเป็นจิตกาธานที่ถวายพระเพลิง พระเจ้าติโลกราช ก่ออิฐถือปูน มีลายปูนปั้นเหลืออยู่ตามเสาซุ้มประตูมีลวดลายสวยงามมากจิตกาธานนี้ถือเป็นของแปลก โดยปกติแล้ว การถวายพระเพลิงพระมหากษัตริย์ เขามักจะทำเป็นเมรชั่วคราวที่ประดับประดาเป็นรูปนกหัสดีลิงค์ รูปช้างเอราวัณบ้าง หรือรูปปราสาท เวลาเผาจะเผาพร้อมไปกับศพด้วย ซึ่งนับได้ว่าจิตกาธานแห่งนี้เป็น เมรุเผาศพที่ถาวรแห่งแรกของภาคเหนือปัจจุบันทางกรมศิลปากรได้ขุดแต่งบูรณะบริเวณโดยรอบของวัดโพธาราม มหาวิหาร และได้จัดเป็น “สวนประวัติศาสตร์” เพื่อให้เป็นอนุสรณ์แด่พระเจ้าติโลกราช และเป็นที่พักผ่อนของประชาชน ทำให้บริเวณนี้น่าดูชมยิ่งขึ้น หอธัมม์ (หอไตร) ศาสนสถานที่ก่อสร้างเพื่อเก็บรักษาคัมภีร์ทางพุทธศาสนา พระเจ้ากาวิละ เจ้าหลวงเชียงใหม่ โปรดให้สร้างเมื่อ พ.ศ.2385 และได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ พ.ศ.2469 ด้วยพระราชศรัทธาในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลฝ่ายเหนือลักษณะทางสถาปัตยกรรม เป็นหอที่สมส่วนงดงาม มีสองชั้น ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ผนังตกแต่งด้วยปฏิมากรรมปูนปั้น เทวดา 16 องค์ ในอริยาบทการยืนที่แตกต่างกันบริเวณท้องไม้ประดับด้วยปูนปั้น รูปสัตว์หิมพานต์อยู่ในกรอบทรงสี่เหลี่ยม จำนวน 75 ตัว ประกอบด้วยสิงโตจีน มอง สิงห์ เงือก ช้าง กวาง กิเลน ปลา เหมราช คชสีห์ นกยูง เสือ และนรสิงห์หอไตรชั้นบนสร้างด้วยไม้ ผนังด้สนข้างเป็นฝาไม้ เข้าลิ้นปิดทึบ ประดับกระจกเป็นรูปดอกจันทน์ 8 กลีบ และลายหม้อ ปูรณฆฏะ เหนือประตูมีซุ้มโขง มีลวดลายปูนปั้นประดับหอธัมม์ วัดพระสิงห์ เป็นหอไตรที่งดงามแห่งหนึ่งในเมืองเชียงใหม่ มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ศิลปกรรมและวัฒนธรรม รายงานวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง หลักฐานประเภทโบราณสถาน-โบราณวัตถุ จัดทำโดย ๑) สามเณร นัฐกร จันทร์ทอง ๒)สามเณร ศรศิลป์ พะโยม ๓)สามเณรคฑาวุธ เพชรมาก เสนอ อาจารย์ พระมหานาวิน ภทฺรตนฺติเมธี

วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

THE-WIN สาระ ดี-ดี: เคล็ดลับ อ่านหนังสือ ยังไง ให้จำได้-เข้าใจง่าย!

THE-WIN สาระ ดี-ดี: เคล็ดลับ อ่านหนังสือ ยังไง ให้จำได้-เข้าใจง่าย!: เคล็ดลับ อ่านหนังสือ ยังไง ให้จำได้-เข้าใจง่าย! ถ้าเพื่อนๆกำลังเผชิญกับปัญหาที่ว่า ก่อนจะสอบ ทำไมอ่านหนังสือแล้วจำไม่ได้ซะที , ลืมเนื้อห...

อำนาจหน้าที่ของศาลปกครอง



อำนาจหน้าที่ของศาลปกครอง
ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษา "คดีปกครอง" ซึ่งได้แก่ คดีในลักษณะ ดังต่อไปนี้
1. คดีพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทำทางปกครองฝ่ายเดียว อันได้แก่ การใช้อำนาจที่หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถดำเนินการได้เองฝ่าย เดียวโดยไม่จำเป็นต้องให้เอกชนยินยอมเสียก่อน ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ เช่น กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ระเบียบข้อบังคับต่างๆที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป หรือการออกคำสั่งทางปกครอง เช่น คำสั่งอนุญาต อนุมัติ คำสั่งแต่งตั้ง ฯลฯ
2. คดีพิพาทอันเนื่องมาจากสัญญาทางปกครอง เช่น สัญญาสัมปทาน สัญญาที่หน่วยงานของรัฐจ้างให้เอกชนสร้างสะพาน สร้างถนน
3. มาจากการกระทำละเมิดทางปกครอง หรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ เช่น ทางราชการออกคำสั่งปิดโรงงานและก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของโรงงาน หรือเจ้าหน้าที่ละเลยหรือต่อใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการล่าช้าเกินสมควรจนเป็นเหตุให้ผู้ประกอบการได้รับความเสียหาย
4. คดีพิพาทอันเนื่องมาจากการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร เช่น ในเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดเวลาให้เจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการให้เสร็จภายใน 30 วัน หรือแม้กระทั่งในเรื่องที่กฎหมายไม่ได้กำหนดเวลาเอาไว้ แต่โดยปกติสามารถดำเนินการให้เสร็จในระยะเวลาหนึ่ง แต่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ไม่ได้ดำเนินการใดๆจนเวลาล่วงเลยไปหลายเดือน
5. คดีพิพาททางปกครองอื่นๆ เช่น คดีที่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะว่าให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง หรือให้หน่วยงานทางปกครองต้องฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับบุคคลให้กระทำหรือละเว้นกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด คดีปกครองเหล่านี้ กฎหมายกำหนดว่า ให้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของ ศาลปกครองชั้นต้น
สำหรับศาลปกครองสูงสุดนั้น กฎหมายกำหนดให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีดังต่อไปนี้
1. คดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น
2. คดีพิพาทเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท
3. คดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกา หรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
4. คดีที่กฎหมายกำหนดไว้เฉพาะให้อยู่ในอำนาจศาลปกครองสูงสุด

กล่าวอย่างง่ายๆก็คือ ศาลปกครองชั้นต้นจะเป็นศาลที่มีอำนาจทั่วไปในการพิจารณาคดีปกครอง โดยเป็นศาลแรกที่คู่กรณีจะนำคดีมาฟ้อง ส่วนศาลปกครองสูงสุดก็จะเป็นศาลสูง ที่คอยตรวจสอบคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นอีกครั้งหนึ่งหากคู่กรณีไม่พอใจคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น และเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีบางประเภทที่มีความสำคัญเป็นพิเศษ
ส่วนเรื่องที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครองนั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท ได้แก่ เรื่องการดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร เรื่องการดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) หรือคดีที่อยู่ในอำนาจศาลชำนัญพิเศษ เช่น ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และศาลล้มละลาย
การฟ้องคดีปกครอง
การฟ้องคดีถือหลักว่าให้กระทำได้โดยง่าย ไม่มีข้อยุ่งยาก
การฟ้องคดีปกครองนั้น ไม่มีหลักเกณฑ์ที่ซับซ้อนให้เป็นภาระแก่ผู้ประสงค์จะฟ้องคดี เว้นแต่เงื่อนไขบางประการที่ต้องกำหนดเป็นกรอบในการดำเนินคดี อีกทั้งยังเสียค่าใช้จ่ายน้อยหรืออาจไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเลย และยังไม่บังคับให้ต้องมีทนายความในการฟ้องคดีอีกด้วย
เงื่อนไขในการฟ้องคดี
ถึงแม้ว่าการฟ้องคดีปกครองจะกระทำได้โดยง่าย แต่ก็มีความจำเป็นที่ต้องกำหนดเงื่อนไขบางประการเอาไว้ ทั้งนี้ เพื่อมิให้มีการกลั่นแกล้งฟ้องคดีกันอย่างพร่ำเพรื่อหรือโดยไม่มีมูลใดๆ ซึ่งจะเป็นการสร้างความยุ่งยากให้กับผู้ถูกฟ้องคดีและยังเป็นภาระแก่ศาล หรือเพื่อให้การแก้ไขความเดือดร้อนเสียหายเป็นระบบและมีความชัดเจน เงื่อนไขเหล่านี้ กฎหมายกำหนดไว้เพียง 4 ประการเท่านั้น ได้แก่
1. ผู้ฟ้องคดี
ต้องเป็นผู้ได้ รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้จากการกระทำหรือการงด เว้นการกระทำของทางราชการ หรือเป็นผู้ที่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง หรือเป็นผู้ที่มีข้อโต้แย้งอื่นใดที่กฎหมายกำหนดให้ฟ้องต่อศาลปกครอง
2. ระยะเวลาการฟ้องคดี
ต้องฟ้องภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ซึ่งโดยหลัก คือ ภายใน 90 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี หรือภายใน 1 ปี ในกรณีที่ฟ้องคดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของทางราชการ หรือในกรณีที่ฟ้องคดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
3. คำฟ้อง
ไม่มีแบบฟอร์มบังคับโดยเฉพาะ เพียงแต่มีเงื่อนไขว่าต้องใช้ถ้อยคำสุภาพและต้องมีเนื้อหาสาระให้เข้าใจได้ว่าเป็นคำฟ้อง ซึ่งประกอบด้วยชื่อและที่อยู่ของผู้ฟ้องคดีและของหน่วยงานที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี การกระทำที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี พร้อมข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ตามสมควร คำขอว่าประสงค์จะให้ศาลสั่งอย่างไรเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนเสียหายของตน และต้องลงลายมือชื่อของผู้ฟ้องคดี
4. การขอให้มีการแก้ไขเยียวยาในเบื้องต้นก่อนนำเรื่องมาฟ้องศาลปกครอง
หากในเรื่องที่จะฟ้องคดีนั้นมีกฎหมายกำหนดให้ต้องดำเนินการอย่างใดเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายนั้นเสียก่อน ผู้ฟ้องคดีก็ต้องดำเนินการเช่นนั้นให้เสร็จสิ้นแล้วจึงจะมีสิทธิมาฟ้องคดีต่อศาลได้
การยื่นฟ้อง

นอกจากสามารถยื่นฟ้องได้ด้วยตนเองต่อเจ้าหน้าที่ของศาลปกครองแล้ว ผู้ฟ้องคดีอาจใช้วิธีส่งคำฟ้องทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้
ส่วนปัญหาที่ว่าจะต้องยื่นฟ้องต่อศาลใดนั้น ถ้าเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองชั้นต้น ก็ถือหลักง่ายๆว่าจะต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นที่ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลำเนา หรือที่มูลคดีเกิดขึ้น ถ้าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองสูงสุดก็ต้องยื่นฟ้องโดยตรงต่อศาลปกครองสูงสุด เว้นแต่การยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นจะต้องยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองชั้นต้นที่มีคำพิพากษานั้นๆ
การดำเนินคดีในศาลปกครอง
การดำเนินคดีในศาลปกครองนั้น การแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานให้ได้อย่าง ถูกต้องและครบถ้วนเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะนิติสัมพันธ์ระหว่างทางราชการกับเอกชนไม่เท่าเทียมกัน ทำให้ต้องใช้ระบบวิธีพิจารณาแบบไต่สวนดังที่กล่าวมาแล้ว ควบคู่กับหลักการให้สิทธิโต้แย้งหรือหลักการฟังความสองฝ่าย ด้วยเหตุนี้ หากผู้ฟ้องคดีไม่สามารถเสนอข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องได้อย่าง เต็มที่ เพราะเอกสารหลักฐานอยู่ในความครอบครองของทางราชการ ก็สามารถระบุเหตุขัดข้องเพื่อที่ศาลจะดำเนินการให้ได้พยานหลักฐานนั้นต่อไป หรือเมื่อทางราชการมีคำชี้แจงหรือข้อโต้แย้งอย่างใด จะต้องให้ผู้ฟ้องคดีได้รับทราบโดยผู้ฟ้องคดีสามารถชี้แจงแสดงความคิดเห็น พร้อมทั้งเสนอพยานหลักฐานของตนได้ และในการนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกก็ยังเปิดโอกาสให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายนำพยาน หลักฐานมาสืบประกอบคำแถลงของฝ่ายตน และอาจมาแถลงด้วยวาจาต่อหน้าศาลได้อีกด้วย
นอกจากนั้น ระบบวิธีพิจารณาคดีปกครองยังให้มีการถ่วงดุลการใช้อำนาจระหว่างตุลาการศาล ปกครองด้วยกัน เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ถูกต้องของข้อเท็จจริง กล่าวคือ โดยหลักแล้ว ตุลาการเจ้าของสำนวน จะเป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในการแสวงหาและรวบรวมข้อเท็จจริง แต่จะต้องเสนอข้อเท็จจริงนั้นต่อตุลาการอื่นที่ประกอบเป็นองค์คณะ และต่อ ตุลาการผู้แถลงคดี ซึ่งมิใช่ตุลาการในองค์คณะนั้นได้พิจารณาด้วย สำหรับในส่วนของการวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดี ตุลาการผู้แถลงคดี จะเสนอ คำแถลงการณ์ ซึ่งรวมถึงความเห็นในทางชี้ขาดตัดสินคดีต่อองค์คณะก่อนที่องค์คณะจะลงมติ วินิจฉัย อันเปรียบเสมือนเป็นความเห็นของตุลาการคนเดียวว่า หากตนมีหน้าที่ต้องตัดสินคดีเรื่องนั้นตนจะพิพากษาอย่างไร ด้วยเหตุผลประการใด ซึ่งแม้ว่าคำตัดสินขององค์คณะเท่านั้นที่จะถือเป็นคำพิพากษา แต่การให้มีระบบการเสนอ คำแถลงการณ์ ของตุลาการผู้แถลงคดีต่อองค์คณะเช่นนี้ จะช่วยส่งเสริมให้การใช้อำนาจตัดสินคดีขององค์คณะมีความรอบคอบและถูกต้องมาก ยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะหากองค์คณะไม่เห็นด้วยกับคำแถลงการณ์ โดยหลักก็จะต้องแสดงให้เห็นถึงเหตุผลที่หนักแน่นและน่าเชื่อถือมากกว่า เพราะจะมีการเปรียบเทียบข้อวินิจฉัยและเหตุผลของตุลาการผู้แถลงคดีและของ องค์คณะได้ง่าย เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้มีการพิมพ์เผยแพร่คำพิพากษาขององค์คณะและคำแถลงการณ์ของผู้แถลงคดีควบคู่กันเสมอ

เขตอำนาจศาลปกครอง

ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 94 บัญญัติว่า ในวาระเริ่มแรก ให้จัดตั้งศาลปกครองในภูมิภาค ดังต่อไปนี้
(1) ศาลปกครองขอนแก่น ตั้งอยู่ในจังหวัดขอนแก่น โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดมหาสารคาม
(2) ศาลปกครองชุมพร ตั้งอยู่ในจังหวัดชุมพร โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดชุมพร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดระนอง
(3) ศาลปกครองเชียงใหม่ ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน
(4) ศาลปกครองนครราชสีมา ตั้งอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดนครราชสีมา
(5) ศาลปกครองนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดกระบี่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดสุราษฎร์ธานี
(6) ศาลปกครองจังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์
(7) ศาลปกครองพิษณุโลก ตั้งอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดตาก จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดสุโขทัย
(8) ศาลปกครองแพร่ ตั้งอยู่ในจังหวัดแพร่ โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่ และจังหวัดอุตรดิตถ์
(9) ศาลปกครองยะลา ตั้งอยู่ในจังหวัดยะลา โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา
(10) ศาลปกครองระยอง ตั้งอยู่ในจังหวัดระยอง โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดจันทบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดตราด จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดสระแก้ว
(11) ศาลปกครองลพบุรี ตั้งอยู่ในจังหวัดลพบุรี โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดนครนายก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอ่างทอง
(12) ศาลปกครองสกลนคร ตั้งอยู่ในจังหวัดสกลนคร โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดสกลนคร
(13) ศาลปกครองสงขลา ตั้งอยู่ในจังหวัดสงขลา โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดตรัง จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา และจังหวัดสตูล
(14) ศาลปกครองสุพรรณบุรี ตั้งอยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดอุทัยธานี
(15) ศาลปกครองอุดรธานี ตั้งอยู่ในจังหวัดอุดรธานี โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดอุดรธานี
(16) ศาลปกครองอุบลราชธานี ตั้งอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีเขตตลอดท้องที่จังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดอำนาจเจริญ
บทความเรื่องนี้คัดมาจากเวบไซด์ของ ศาลปกครอง

เคล็ดลับ อ่านหนังสือ ยังไง ให้จำได้-เข้าใจง่าย!

เคล็ดลับ อ่านหนังสือ ยังไง ให้จำได้-เข้าใจง่าย! ถ้าเพื่อนๆกำลังเผชิญกับปัญหาที่ว่า ก่อนจะสอบ ทำไมอ่านหนังสือแล้วจำไม่ได้ซะที , ลืมเนื้อหาที่ป่านมาก่อนเข้าห้องสอบอีก ซวยเลย แบบนี้เรามีวิธีแก้ไขเรื่องแบบนี้มาฝากกัน !!! 1. ปิด ทีวี คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต mp3 มีสติอยู่กับหนังสือ 2. นั่งสมาธิสัก 5 นาที 3. อ่านหนึ่งรอบ แล้วสรุป โดยไม่เปิดหนังสือ 4. เช็คคำตอบ 5. อ่านอีกหนึ่งรอบ 6. สรุปใหม่ เปิดหนังสือได้เอาไว้อ่าน 7. ถ้าทำเป็น Mind Mapping จะอ่านง่ายขึ้น 8. มีเอกสารอะไรที่ครูแจก อย่าคิดว่าไม่สำคัญ 9. ท่องในส่วนที่ครูพูดย้ำบ่อยๆ อย่างน้อย 2 ครั้ง/คาบ 10. ก่อนวันสอบ ห้ามหักโหมอ่านหนังสือถึงเที่ยงคืน เพราะสมองจะไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น เอาอีกเคล็ดลับดีๆมาฝากนะครับ 1. คนที่อ่านหนังสือคนเดียวมักจะเสียเปรียบ คนที่อ่านเป็นกลุ่มมัก จะได้เปรียบ เนื่องจากอ่านคนเดียวอาจเข้าใจคลาดเคลื่อน หรืออ่านไม่ตรงจุด หรือ(บางคน)อาจอ่านไม่รู้เรื่อง ถ้าอ่านเป็นกลุ่มโอกาสอ่านผิดจุดจะยากขึ้น และยังพอช่วยกันฉุดได้ ** แต่วิธีนี้ไม่เหมาะสำหรับคนชอบแชตนะครับ อิอิ 2. ควรอ่านเองที่บ้านก่อน 1 รอบ และจับกลุ่มติว เสร็จแล้วกลับไปอ่านทบทวนเองที่บ้านอีก 1 รอบ (ต้องรับผิดชอบตัวเอง) 3. ผลัดกันติว ใคร เข้าใจเรื่องใดมากที่สุดก็ให้เป็นผู้ติว ข้อสำคัญ อย่าคิดแต่จะเป็นผู้รับอย่างเดียว จงคิดว่าเป็นผู้ให้ก่อน แล้วคนอื่น (ถ้าไม่แล้งน้ำใจเกินไป) ก็จะให้ตอบเอง 4. ผู้ติวจะได้ทบทวนเนื้อหา และจะรู้ว่าตัวเองขาดอะไร บกพร่องอะไร จากคำถามของเพื่อนที่สงสัย บางครั้งเพื่อนก็สามารถเสริมเติมเต็มในบางจุดที่ผู้ติวขาดหายได้ 5. การติวจะทำให้เกิดการ Share ความคิด และฝึกวิธีทำงานร่วมกับผู้อื่น ช่วยพัฒนาทั้งด้าน IQ และ EQ (อ่านเองจะพัฒนาแต่ IQ)

ประวัติวันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา 2555 ปีนี้ตรงกับวันที่ 4 มิถุนายน พุทธศักราช 2555 วันวิสาขบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า 3 ประการ คือ เป็นวันประสูติ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และปรินิพพาน ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 วิสาขบูชา ย่อมาจาก "วิสา - ขบุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน 7 ความสำคัญ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง 3 คราวคือ 1. ประสูติ เป็นวันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ณ ลุมพินีสถาน เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางได้รับพระบรมราชานุญาต จากพระสวามี ให้แปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ ซึ่งเป็นพระนครเดิมของพระนาง เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ครั้นพระกุมารประสูติได้ ๕ วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ" ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ออกบวช จนบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (ญาณอันประเสริฐสูงสุด) สำเร็จเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า จึงถือว่าวันนี้เป็นวันประสูติของพระพุทธเจ้า 2. ตรัสรู้ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ อนุตตรสัมโพธิญาณ ณ ร่มพระศรีมหาโพธิบัลลังก์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี การตรัสอริยสัจสี่ คือของจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ของพระพุทธเจ้า เป็นการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม ไม่มีผู้เสมอเหมือน วันตรัสของพระพุทธเจ้า จึงจัดเป็นวันสำคัญ เพราะเป็นวันที่ให้เกิดมีพระพุทธเจ้าขึ้นในโลกชาวพุทธทั่วไป จึงเรียกวันวิสาขบูชาว่า วันพระพุทธ(เจ้า) อันมีประวัติว่า พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียรต่อไป ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้า "ฌาน" เพื่อให้บรรลุ "ญาณ" จนเวลาผ่านไปจนถึง ... * ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ" คือทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่น * ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือการรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย * ยามสาม : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือรู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจสี่ ( ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งขณะนั้น พระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ (อริยสัจ ๔) หรือ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่... 1. ทุกข์ คือ ความลำบาก ความไม่สบายกายไม่สบายใจ 2. สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ 3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ และ 4. มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์ ทั้ง ๔ ข้อนี้ถือเป็นสัจธรรม เรียกว่า อริยสัจ เพราะเป็นสิ่งที่พระอริยเจ้าทรงค้นพบ เป็นสัจธรรมชั้นสูง ประเสริฐกว่าสัจธรรมสามัญทั่วไป 3. ปรินิพพาน เป็นวันปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ร่มไม้รัง (ต้นสาละ) คู่ ในสาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ ใกล้เมืองกุสินารา เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๑ ปี วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป) การปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ก็ถือเป็นวันสำคัญของชาวพุทธทั่วโลกเพราะชาวพุทธทั่วโลกได้สูญเสียดวงประทีป ของโลก เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่และครั้งสำคัญชาวพุทธทั่วไปมีความเศร้าสลด เสียใจและอาลัยสุดจะพรรณนา อันมีประวัติว่าเมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมมาเป็นเวลานานถึง ๔๕ ปี ซึ่งมีพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน ๖ พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวาย ก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีนั้น ได้มีปริพาชกผู้หนึ่ง ชื่อสุภัททะขอเข้าเฝ้า และได้อุปสมบทเป็นพระพุทธสาวกองค์สุดท้าย เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้ บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน ๖ นั้น ความสำคัญของวันวิสาขบูชา พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพานเวียนมาบรรจบในวันและเดือนเดียวกัน คือ วันเพ็ญเดือนวิสาขะ จึงถือว่าเป็นวันที่สำคัญของพระพุทธเจ้า หลักธรรมอันเกี่ยวเนื่องจากการประสูติ ตรัสรู้และเสด็จดับขันธปรินิพพาน คือ ความกตัญญู อริยสัจ ๔ และความไม่ประมาท ประวัติความเป็นมา ส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา เนื่องจากมีเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๓ อย่าง เกิดขึ้นในวันเดียวกันคือ ประสูติ ตรัสรู้ธรรม และปรินิพพาน วันวิสาขบูชาตรงกับวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ชาวพุทธศาสนิกชนทั่วโลกต่างให้ความสำคัญกับวันวิสาขบูชา นี้ และเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒ สหประชาชาติได้ยอมรับญัตติที่ประชุม กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก และเป็นวันหยุดวันหนึ่งของสหประชาชาติ เพื่อให้ชาวพุทธทั่วโลกได้มีโอกาสบำเพ็ญบุญเนื่องในวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระบรมศาสดา เจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติเมื่อ ๒๖๐๐ กว่าปี ล่วงมาแล้ว พระ บิดาพระนามว่าพระเจ้าสุทโธทนะ พระมารดาพระนามว่าพระนางสิริมหามายา ก่อนที่พระองค์จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์เป็นเจ้าชายในราชสกุลโคตมะ แห่งเมืองกบิลพัสดุ์ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย คำว่า 'พุทธ' หรือ 'พุทธิ' ในภาษาบาลีและสันสกฤตมีความหมายเหมือนกัน แปลว่า ปัญญา หรือ การตรัสรู้ จากคำสอนในพระไตรปิฎกกล่าวว่า พระพุทธเจ้าคือผู้ที่ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงเป็นผู้รู้สัจจธรรม และทรงมีพระญาณทัศนะกว้างไกลที่พระองค์ทรงรู้เห็นกำเนิด และความเป็นไปของสัตว์โลกตลอดภพสาม มีพระพุทธเจ้านับไม่ถ้วนพระองค์ได้อุบัติขึ้นในโลกนี้ เมื่อแต่ละพระองค์ตรัสรู้ธรรมอันประเสริฐแล้ว ทรงสั่งสอนธรรมะเพื่อให้ชาวโลกพ้นจากวัฏสงสารด้วยมหากรุณา จากพระไตรปิฏก "อปทานสูตร และพุทธวงศ์" กล่าวถึงการสร้างบารมีของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ นานนับอสงไขยกว่าที่จะบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ แม้ในขุททกนิกาย ชาดก ได้เล่าการสร้างบารมีถึง ๕๔๗ ชาติของพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ มาตลอดกว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในพระชาติสุดท้าย เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงเป็นผู้มีบุญที่เพียบพร้อมด้วยสติปัญญา และความเมตตา หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้เพียง ๗ วัน พระมารดาก็สวรรคต พระน้านางคือพระนางปชาบดีโคตมี เป็นผู้บำรุงเลี้ยงรักษา หลังจากประสูติได้ไม่นาน พระบิดาได้อัญเชิญอสิตดาบสมาทำนายอนาคตของเจ้าชายสิทธัตถะ อสิตดาบสแสดงอาการประหลาดต่อหน้าพระที่นั่งคือ หัวเราะและร้องไห้ หัวเราะเพราะดีใจที่ได้เห็นเจ้าชายสิทธัตถะ และได้ทำนายว่าเจ้าชายจะตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแน่นอน แต่ร้องไห้เพราะอสิตดาบสนั้นจะมีอายุไม่ยืนยาวทันรับฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า พระองค์นี้ คำทำนายนี้ได้รับการยืนยันจาก โกณฑัญญะ ซึ่งเป็นดาบสอีกท่านหนึ่งที่ทำนายว่า เจ้าชายสิทธัตถะจะสละราชสมบัติ เมื่อผนวชแล้วจะบรรลุธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนดาบสอื่นๆ ล้วนทำนายว่า ถ้าเจ้าชายสิทธัตถะไม่ทรงผนวช จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ คำทำนายดังกล่าวสร้างความตระหนกพระทัยแก่พระเจ้าสุทโธทนะเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ทรงปรารถนาจะให้เจ้าชายสิทธัตถะปกครองแว่นแคว้นสืบทอดราชบัลลังก์ต่อ จากพระองค์ และเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ จึงทรงป้องกันเจ้าชายสิทธัตถะไม่ให้เห็นความทุกข์ทรมาน ความเจ็บปวดต่าง ๆ ที่จะทำให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงรู้สึกเบื่อหน่าย และอยากออกบวช ด้วยเหตุนี้พระเจ้าสุทโธทนะ จึงทรงมีพระบัญชาให้เหล่าอำมาตย์เสนาบดี ช่วยกันสร้างปราสาทสามฤดูแก่เจ้าชาย ปราสาทแต่ละแห่งแวดล้อมด้วยเหล่าสนมกำนัลที่สวยงาม ชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะก่อนทรงออกผนวช จึงเป็นชีวิตที่เพียบพร้อมด้วย รูปสมบัติ และทรัพย์สมบัติอย่างแท้จริง. เมื่อเจ้าชายทรงพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา พระมเหสีคือพระนางยโสธรา พิมพาประสูติพระโอรส พระนามว่า ราหุล วันหนึ่งเจ้าชายสิทธัตถะได้ทรงรถม้าประพาสสวนนอกเมือง ทรงเห็นคนแก่ คนป่วย คนตาย และนักบวช ภาพคนแก่ คนป่วย และคนตายทำให้พระองค์นึกถึงความทุกข์ และความไม่เที่ยงแท้ของสังขารมนุษย์ ต่อมา เจ้าชายสิทธัตถะจึงทรงออกจากวัง ถือเพศเป็นนักบวชเที่ยวภิกขาจารไปเพื่อแสวงหาโมกขธรรม วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เมื่อมีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา เจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้ธรรม ณ ใต้ควงต้นพระศรีมหาโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนที่จะบรรลุธรรม เจ้าชายสิทธัตถะได้แสวงหาผู้สอนวิธีหลุดพ้นแก่พระองค์ ๒ คนคือ อาฬารดาบส และอุทกดาบส ซึ่งทั้งสองนี้สอนพระองค์ให้ได้ญานชั้นสูง แต่ไม่บรรลุธรรม เมื่อพระองค์บรรลุธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ทรงประกาศธรรม เผยแผ่คำสอนที่สามารถทำให้ผู้ปฏิบัติตามพ้นทุกข์ตามพระองค์ไปได้ พระพุทธองค์ ทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นเวลา ๔๕ ปี ทรงวางรากฐานพระพุทธศาสนา และมีพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก ที่ปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ ซึ่งในสมัยนั้นมีตั้งแต่ กษัตริย์ เจ้าชาย พ่อค้า แม่ค้า พราหมณ์ เศรษฐี ยาจกเข็ญใจ และชนทุกชั้นในสังคม ประวัติความเป็นมาของวันวิสาขบูชาในประเทศไทย วันวิสาขบูชานี้ ปรากฏตามหลักฐานว่า ได้มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งสันนิษฐานว่า คงจะได้แบบอย่าง มาจากลังกา กล่าวคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. 420 พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาอย่าง มโหฬาร เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา กษัตริย์ลังกาในรัชกาลต่อ ๆ มา ก็ทรงดำเนินรอยตาม แม้ปัจจุบันก็ยังถือปฏิบัติอยู่ สมัยสุโขทัยนั้น ประเทศไทยกับประเทศลังกามีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนาใกล้ชิดกันมากเพราะ พระสงฆ์ชาวลังกา ได้เดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และเชื่อว่าได้นำการประกอบพิธีวิสาขบูชามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย ใน หนังสือนางนพมาศได้กล่าวบรรยากาศการประกอบพิธีวิสาขบูชาสมัยสุโขทัยไว้ พอสรุปใจความได้ว่า " เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัยทั่วทุก หมู่บ้านทุกตำบล ต่างช่วยกันทำความสะอาด ประดับตกแต่งพระนครสุโขทัยเป็นการพิเศษ ด้วยดอกไม้ของหอม จุดประทีปโคมไฟแลดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นการอุทิศบูชาพระรัตนตรัย เป็นเวลา 3 วัน 3 คือ พระมหากษัตริย์ และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ครั้นตกเวลาเย็น ก็เสด็จพระราช ดำเนิน พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ตลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ไปยังพระ อารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน ส่วนชาวสุโขทัยชวนกันรักษาศีล ฟังธรรมเทศนา ถวายสลากภัต ถวายสังฆทาน ถวายอาหารบิณฑบาต แด่พระภิกษุ สามเณรบริจาคทรัพย์แจกเป็นทานแก่คนยากจน คนกำพร้า คนอนาถา คนแก่ คนพิการ บางพวกก็ชวนกันสละทรัพย์ ปล่อยสัตว์ 4 เท้า 2 เท้า และเต่า ปลา เพื่อชีวิตสัตว์ให้เป็นอิสระ โดยเชื่อว่าจะทำให้คนอายุ ยืนยาวต่อไป" ในสมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ด้วยอำนาจอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ เข้าครอบงำประชาชนคนไทย และมีอิทธิพลสูงกว่าอำนาจของพระพุทธศาสนา จึงไม่ปรากฎหลักฐานว่า ได้มีการประกอบพิธีบูชาในวันวิสาขบูชา จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2360) ทรงดำริกับ สมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนักวัดราชบูรณะ มีพระราชประสงค์จะให้ฟื้นฟู การประกอบพระราชพิธีวันวิสาขบูชาขึ้นใหม่ โดย สมเด็จพระสังฆราช ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้น เป็นครั้งแรกในวันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ. 2360 และให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ เพื่อมีพระประสงค์ให้ประชาชนประกอบการบุญการกุศล เป็นหนทางเจริญอายุ และอยู่เย็นเป็นสุขปราศจากทุกข์โศกโรคภัย และอุปัทวันตรายต่างๆ โดยทั่วหน้ากัน ฉะนั้น การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชาในประเทศไทย จึงได้รื้อฟื้นให้มีขึ้นอีกครั้งหนึ่งในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 และถือปฏิบัติมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน การจัดงานเฉลิมฉลองในวันวิสาขบูชาที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกยุค ทุกสมัย คงได้แก่การจัดงานเฉลิมฉลอง วันวิสาขบูชา พ.ศ.2500 ซึ่งทางราชการเรียกว่างาน " ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ " ตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 18 พฤษภาคม รวม 7 วัน ได้จัดงานส่วนใหญ่ขึ้นที่ท้องสนามหลวง ส่วนสถานที่ราชการ และวัดอารามต่างๆ ประดับธงทิวและโคมไฟสว่างไสวไปทั่วพระ ราชอาณาจักร ประชาชนถือศีล 5 หรือศีล 8 ตามศรัทธาตลอดเวลา 7 วัน มีการอุปสมบทพระภิกษุสงฆ์รวม 2,500 รูป ประชาชน งดการฆ่าสัตว์ และงดการดื่มสุรา ตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 14 พฤษภาคม รวม 3 วัน มีการก่อสร้าง พุทธมณฑล จัดภัตตาหาร เลี้ยงพระภิกษุสงฆ์วันละ 2,500 รูป ตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารแก่ประชาชน วันละ 200,000 คน เป็นเวลา 3 วัน ออกกฎหมาย สงวนสัตว์ป่าในบริเวณนั้น รวมถึงการฆ่าสัตว์ และจับสัตว์ในบริเวณวัด และหน้าวัดด้วย และได้มีการปฏิบัติธรรมอันยิ่งใหญ่ อย่างพร้อมเพรียงกัน เป็นกรณีพิเศษ ในวันวิสาขบูชาปีนั้นด้วย หลักธรรมที่ควรปฏิบัติ 1. กตัญญู กตเวที ความกตัญญู คือ ความรู้อุปการคุณที่มีผู้ทำไว้ก่อนเป็นคุณธรรมคู่กับ ความกตเวที คือ การตอบแทนอุปการะคุณที่ผู้อื่นทำไว้นั้นผู้ที่ทำอุปการรคุณก่อนเรียกว่า บุพการี ขอยกมากล่าวในที่นี้คือ บิดามารดา และครูอาจารย์ บิดามารดา มีอุปการะคุณแก่บุตร ธิดา ในฐานะเป็นผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูจนเติบใหญ่ ให้การศึกษา อบรมสั่งสอน ให้ละเว้นจากความชั่ว มั่นคงในการทำความดี เมื่อถึงคราวมีคู่ครองได้จัดหาคู่ครอบที่เหมาะสมให้และมอบทรัพย์สมบัติให้ ไว้เป็นมรดก บุตร ธิดา เมื่อรู้อุปการะคุณที่บิดามารดาทำไว้ย่อมตอบแทนด้วยการ ประพฤติตัวดี สร้างชื่อเสียงให้แก่วงศ์ตระกูล เลี้ยงดูท่าน และช่วยทำงานของท่าน และเมื่อล่วงลับไปแล้วก็ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ท่าน ครูอาจารย์ มีอุปการะคุณแก่ศิษย์ในฐานะเป็นผู้ประสาทความรู้ให้ ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคนดีสอนศิลปวิทยาให้อย่างไม่ปิดบัง ยกย่องให้ปรากฎแก่คนอื่นและช่วยคุ้มครองศิษย์ทั้งหลาย ศิษย์เมื่อรู้อุปการคุณที่ครูอาจารย์ทำไว้ย่อมตอบแทนด้วยการตั้งใจเรียน ให้เกียรติ และให้ความเคารพไม่ล่วงละเมิดโอวาทของครู ความกตัญญูและความกตเวทีนี้ถือว่าเป็นเครื่องหมายของคนดีส่งผลให้ครอบครัว และสังคมมีความสุขได้ เพราะบิดามารดาจะรู้จักหน้าที่ของตนเองด้วยการทำอุปการคุณให้ก่อน และบุตร ธิดา ก็จะรู้จัก หน้าที่ของตนเองด้วยการทำดีตอบแทน สำหรับ ครูอาจารย์ก็จะรู้จักหน้าที่ของตนเองด้วยการทำอุปการคุณ คือ สอนศิลปวิทยาอย่างเต็มที่และศิษย์ก็จะรู้จักหน้าที่ของตนเอง ด้วยการตั้งใจเรียน และให้ความเคารพเป็นการตอบแทน นอกจากจะใช้ในกรณีของบิดามารดากับบุตรธิดา และครูอาจารย์กับศิษย์แล้ว คุณธรรมข้อนี้ก็สามารถนำไปใช้ได้แม้ระหว่าง พระมหากษัตริย์กับพสกนิกร นายจ้างกับลูกจ้าง เพื่อนกับเพื่อนและบุคคลทั่วไป รวมทั้งมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ในทางพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงเป็นบุพการีในฐานะที่ทรงสถาปนาพระพุทธศาสนาและทรงสอนทางพ้น ทุกข์ให้แก่เวไนย-สัตว์ พุทธศาสนิกชน รู้พระคุณอันนี้ จึงตอบแทนด้วยอามิสบูชา และปฏิบัติบูชา กล่าวคือ การจัดกิจกรรมในวันวิสาขบูชา เป็นส่วนหนึ่งที่ชาวพุทธแสดงออก ซึ่งความกตัญญูกตเวทีต่อพระองค์ ด้วยการทำนุบำรุงส่งเสริม พระพุทธศาสนา และประพฤติปฏิบัติธรรม เพื่อดำรงอายุพระพุทธศาสนาสืบไป 2. อริยสัจ ๔ อริยสัจ คือ ความจริงอันประเสริฐ หมายถึง ความจริงที่ไม่ผันแปร เกิดมีได้แก่ทุกคนมี ๔ ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทุกข์ คือ ปัญหาของชีวิต พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่า มนุษย์ทุกคนมีทุกข์เหมือนกันทั้งทุกข์ขั้นพื้นฐานและทุกข์เกี่ยวกับการ ดำเนินชีวิตประจำวัน ทุกข์ขั้นพื้นฐาน คือ ทุกข์ที่เกิดจากการเกิด การแก่ และการตาย ส่วนทุกข์ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวันคือ ทุกข์ที่เกิดจากการพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ทุกข์ที่เกิดจากการประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ทุกข์ที่เกิดจากการไม่ได้ตามใจปรารถนา รวมทั้งทุกข์ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตด้านต่างๆ สมุทัย คือ เหตุแห่งปัญหา พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่า ทุกข์ทั้งหมด ซึ่งเป็นปัญหาของชีวิตล้วนมีเหตุให้เกิดเหตุนั้น คือ ตัณหา อันได้แก่ ความอยากได้ต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วย ความยึดมั่น นิโรธ คือ การแก้ปัญหาได้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่า ทุกข์ คือ ปัญหาของชีวิตทั้งหมดนั้นแก้ไขได้ โดยการดับตัณหา คือ ความอยากให้หมดสิ้น มรรค คือ ทางหรือวิธีแก้ปัญหา พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็ เพื่อให้ทราบว่า ทุกข์คือปัญหาของชีวิตทั้งหมดที่สามารถแก้ไขได้นั้นต้องแก้ไขตามมรรคมีองค์ ๘ 3. ความไม่ประมาท ความไม่ประมาท คือ การมีสติทั้งขณะทำ ขณะพูดและขณะคิด สติ คือ การระลึกรู้ทัน ที่คิด พูดและทำ ในภาคปฏิบัติเพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน หมายถึงการระลึกรู้ทันการเคลื่อนไหวอิริยาบถ ๔ คือ เดิน ยืน นั่ง นอน การฝึกให้เกิดสติ ทำได้โดยตั้งสติกำหนดการเคลื่อนไหวอิริยาบถกล่าวคือ ระลึกรู้ทันในขณะยืน เดิน นั่งและนอน รวมทั้งระลึกรู้ทันในขณะพูดขณะคิด และขณะทำงานต่างๆ ในวันนี้พุทธศาสนิกชนต่างพากันน้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยการไปชุมนุมตามพระอารามต่าง ๆ เพื่อกระทำการบูชาปูชนียวัตถุอันได้แก่ พระธาตุเจดีย์หรือพระพุทธปฏิมา ที่เป็นพระประธานในพระอุโบสถอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยเครื่องบูชามีดอกไม้ ธูปเทียน เป็นต้น เริ่มด้วยการสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย ด้วยบทสวดมนต์ตามลำดับดังนี้คือ บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปนโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ สวากขาโต ภะคะวา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ. บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสสะ ยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระนีโย อะนุตตะรัง ปุญญะเขตตัง โลกัสสาติ จากนั้นก็จะกระทำ ประทักษิณ หรือที่เรียกว่า เวียนเทียน รอบพระธาตุเจดีย์ หรือพระพุทธปฎิมาในพระอุโบสถ ด้วยการเดินเวียนขวาสามรอบ รอบแรกจะสวดบทสรรเสริญพระพุทธคุณ รอบที่สองจะสวดบทสรรเสริญพระธรรมคุณ และรอบที่สามสวดบทสรรเสริญพระสังฆคุณ เมื่อครบ 3 รอบแล้วจึงนำดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระธาตุเจดีย์ หรือพระพุทธรูปในพระอุโบสถ ณ ที่บูชาอันควรเป็นอันเสร็จพิธีเวียนเทียน จากนั้นก็จะมีการแสดงพระธรรมเทศนาในพระอุโบสถ ซึ่งปกติจะมีเทศน์ ปฐมสมโพธิ ซึ่งเป็นเรื่องพระพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน พิธีเริ่มตั้งแต่ประชุมฟังพระทำวัตรสวดมนต์ แล้วจึงฟังเทศน์ซึ่งจะมีไปตลอดรุ่ง