วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555

หลักฐานประเภทโบราณสถาน-โบราณวัตถุ

ท้องพระโรงกรุงธนบุรี อาคารท้องพระโรงสร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2311 พร้อมกับการสถาปนากรุงธนบุรี เป็นราชธานี อาคารนี้มีรูปทรงแบบไทยประกอบด้วยพระที่นั่งสององค์เชื่อมต่อกัน ได้แก่ พระที่นั่งองค์ทิศเหนือ เรียกว่าท้องพระโรง หรือ วินิจฉัย อยู่ทางทิศเหนือใช้เป็นที่เสด็จ ออกขุนนาง และประกอบพระราชพิธีที่สำคัญมาแต่ครั้งกรุงธนบุรี และพระที่นั่งองค์ทิศใต้ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระที่นั่งองค์แรก เรียกกันว่า พระที่นั่งขวาง เป็นส่วนพระราชมณเฑียร อันเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ ในปัจจุบัน กองทัพเรือได้ใช้โถงท้องพระโรงภายในพระที่นั่งองค์ทิศเหนือ เป็นสถานที่ที่จัดงาน และประกอบพิธีสำคัญเป็นประจำ ส่วนพระที่นั่งขวาง ได้ใช้เป็นห้องรับรองบุคคลสำคัญ และเป็นห้องประชุมในบางโอกาส ป้อมนี้เดิมชื่อ "ป้อมวิไชยเยนทร์ " หรือ "ป้อมบางกอก" สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช โดยเจ้าพระยาวไชยเยนทร์ กราบบังคมทูลแนะนำให้สร้างขึ้น พร้อม ป้อมทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อสมเด็จพระเจ้ามหาราชทรงสถาปนา กรุงธนบุรีเป็นราชธานีได้ทรงสร้างพระราชวังในบริเวณป้อมแห่งนี้พร้อมกับปรับปรุงป้อม และพระราชทานนามใหม่ว่า "ป้อมวิไชยประสิทธิ์" ปัจจุบันป้อมวิไชยประสิทธิ์ใช้เป็นที่ ยิงสลุตในพิธีสำคัญต่างๆ และติดตั้งเสาธงเพื่อประดับธงราชนาวี แ ละธงผู้บัญชาการทหารเรือ ป้อมวิไชยเยนทร์ ป้อมนี้เดิมชื่อ "ป้อมวิไชยเยนทร์ " หรือ "ป้อมบางกอก" สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช โดยเจ้าพระยาวิไชยเยนทร์ กราบบังคมทูลแนะนำให้สร้างขึ้น พร้อม ป้อมทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนา กรุงธนบุรีเป็นราชธานีได้ทรงสร้างพระราชวังในบริเวณป้อมแห่งนี้พร้อมกับปรับปรุงป้อม และพระราชทานนามใหม่ว่า "ป้อมวิไชยประสิทธิ์" ปัจจุบันป้อมวิไชยประสิทธิ์ใช้เป็นที่ ยิงสลุตในพิธีสำคัญต่างๆ และติดตั้งเสาธงเพื่อประดับธงราชนาวี และธงผู้บันชาทหารเรือ ตำหนัก พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ตำหนักหลังนี้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อครั้งยังทรงดำรง พระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ และประทับที่พระราชวังเดิม ในระหว่างปี พ.ศ. 2367 - 2394 แต่หลังจากที่พระองค์ทรงได้รับพระราชทานบวรราชาภิเษก ได้ทรงย้ายไปประทับ ณ พระบวรราชวัง อาคารหลังนี้จึงได้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้า น้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ตัวอาคารมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเป็นแบบตะวันตก หรือเรียกว่า "ตึกแบบอเมริกัน" และถือได้ว่าเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงค์ชั้นสูง ที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นแบบตะวันตกหลังแรกๆ ที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ วัดเจ็ดยอด (วัดโพธาราม มหาวิหาร) วัดเจ็ดยอด เป็นวัดที่ชาวเชียงใหม่รู้จักกันดี เป็นเพราะมีเจดีย์เจ็ดยอด ตั้งอยู่นอกเมืองใกล้กับถนนซูปเปอร์ไฮเวย์สายเชียงใหม่ – ลำปาวัดเจ็ดยอด มีชื่อในอดีตอีกชื่อหนึ่ง คือ วัดโพธาราม มหาวิหาร ผู้ช่วยศาสตราจารย์นันทนา ปกป้อง กล่าวถึงประวัติวัดนี้ว่า เป็นวัดที่มีปัญหาเกี่ยวกับผู้สร้างอยู่หลายประเด็นด้วยกัน คือ ตาม ทฤษฎีของ Reinald Le May นักปราชย์ทางด้านโบราณคดีได้เสนอข้อ คิดเห็นในข้อนี้ว่า พญาเม็งรายเป็นผู้สร้าง เหตุผลก็คือพญาเม็งรายเป็นกษัตริย์เชียงใหม่เพียงพระองค์เดียวที่เคยเสด็จไป เยือนพุกามถึง 2 ครั้ง ซึ่งที่เมืองพุกามนั้น มีเจดีย์ที่ชื่อว่า มหาวิหารโพธิแห่งเมืองพุกาม พระเจ้าติโลมินโล(กษัตริย์พม่าซึ่งขึ้นครองราชย์ประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 ) เป็นผู้ถ่ายแบบจากเจดีย์พุทธคยาได้สร้างขึ้นไว้ พญาเม็งราย ทรงเห็นแบบอย่างจึงได้ถ่ายแบบมาสร้างแต่ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ หรือพงศาวดารโยนก ได้ระบุเอาไว้ว่า พระเจ้าติโลกราช (พ.ศ.1985 – พ.ศ.2030) เป็นผู้สร้างวัดนี้ขึ้นเพื่อฉลองพระพุทธศาสนาครบ 2000 ปี ในปี พ.ศ.1998 และพระราชทานนามว่า “วัดโพธาราม มหาวิหาร” เหตุที่ได้ชื่อนี้เพราะพระองค์ได้ต้นโพธิ์จากลังกามาปลูกไว้ในพระอาราม นอกจากเจดีย์เจ็ดยอด ดังกล่าวแล้วสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ได้แก่พระวิหารกำแพง ซุ้มประตู(ประตูโขง) รวมทั้งลวดลายปูนปั้น ได้สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าติโลกราช หลังสร้างเสร็จ โปรดเกล้าฯ ให้ทำการฉลองพระอารามนั้นเป็นการใหญ่ประมาณ พ.ศ.2020 ได้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกเป็นครั้งแรกของประเทศไทย และเป็นครั้งที่ 8 ของโลก ในสมัยพระเจ้าติโลกราชโดยมีธรรมทินเถระ วัดป่าตาลเป็นประธานในการทำสังคายนาปี พ.ศ.2053 ในสมัยพระเมืองแก้ว มีการสร้างอุโบสถขึ้นด้านทิศตะวันออกมีขนาดเล็ก ด้านหลังอุโบสถเป็นจิตกาธานที่ถวายพระเพลิง พระเจ้าติโลกราช ก่ออิฐถือปูน มีลายปูนปั้นเหลืออยู่ตามเสาซุ้มประตูมีลวดลายสวยงามมากจิตกาธานนี้ถือเป็นของแปลก โดยปกติแล้ว การถวายพระเพลิงพระมหากษัตริย์ เขามักจะทำเป็นเมรชั่วคราวที่ประดับประดาเป็นรูปนกหัสดีลิงค์ รูปช้างเอราวัณบ้าง หรือรูปปราสาท เวลาเผาจะเผาพร้อมไปกับศพด้วย ซึ่งนับได้ว่าจิตกาธานแห่งนี้เป็น เมรุเผาศพที่ถาวรแห่งแรกของภาคเหนือปัจจุบันทางกรมศิลปากรได้ขุดแต่งบูรณะบริเวณโดยรอบของวัดโพธาราม มหาวิหาร และได้จัดเป็น “สวนประวัติศาสตร์” เพื่อให้เป็นอนุสรณ์แด่พระเจ้าติโลกราช และเป็นที่พักผ่อนของประชาชน ทำให้บริเวณนี้น่าดูชมยิ่งขึ้น หอธัมม์ (หอไตร) ศาสนสถานที่ก่อสร้างเพื่อเก็บรักษาคัมภีร์ทางพุทธศาสนา พระเจ้ากาวิละ เจ้าหลวงเชียงใหม่ โปรดให้สร้างเมื่อ พ.ศ.2385 และได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ พ.ศ.2469 ด้วยพระราชศรัทธาในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลฝ่ายเหนือลักษณะทางสถาปัตยกรรม เป็นหอที่สมส่วนงดงาม มีสองชั้น ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ผนังตกแต่งด้วยปฏิมากรรมปูนปั้น เทวดา 16 องค์ ในอริยาบทการยืนที่แตกต่างกันบริเวณท้องไม้ประดับด้วยปูนปั้น รูปสัตว์หิมพานต์อยู่ในกรอบทรงสี่เหลี่ยม จำนวน 75 ตัว ประกอบด้วยสิงโตจีน มอง สิงห์ เงือก ช้าง กวาง กิเลน ปลา เหมราช คชสีห์ นกยูง เสือ และนรสิงห์หอไตรชั้นบนสร้างด้วยไม้ ผนังด้สนข้างเป็นฝาไม้ เข้าลิ้นปิดทึบ ประดับกระจกเป็นรูปดอกจันทน์ 8 กลีบ และลายหม้อ ปูรณฆฏะ เหนือประตูมีซุ้มโขง มีลวดลายปูนปั้นประดับหอธัมม์ วัดพระสิงห์ เป็นหอไตรที่งดงามแห่งหนึ่งในเมืองเชียงใหม่ มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ศิลปกรรมและวัฒนธรรม รายงานวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง หลักฐานประเภทโบราณสถาน-โบราณวัตถุ จัดทำโดย ๑) สามเณร นัฐกร จันทร์ทอง ๒)สามเณร ศรศิลป์ พะโยม ๓)สามเณรคฑาวุธ เพชรมาก เสนอ อาจารย์ พระมหานาวิน ภทฺรตนฺติเมธี

1 ความคิดเห็น:

  1. รายงานวิชาประวัติศาสตร์
    เรื่อง หลักฐานประเภทโบราณสถาน-โบราณวัตถุ
    จัดทำโดย
    ๑) สามเณร นัฐกร จันทร์ทอง
    ๒)สามเณร ศรศิลป์ พะโยม
    ๓)สามเณรคฑาวุธ เพชรมาก

    ตอบลบ