วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2558

คำคมToday สำหรับเตือนตนเอง

ผมเชื่อว่าทุกๆคนมีเป้าหมาย แต่เป้าหมายแต่ละคนอาจวางไว้ไม่เหมือนกัน (ผมก็คนหนึ่ง)


1.การเรียนรู้จงอย่าหาในสิ่งที่คนทั่วๆไปมีอยู่ จงแสวงหาในสิ่งที่คนอื่นขาด
2.ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เมื่อนำมาฝึกฝนจะก่อเป็นองค์ความรู้และประสบการณ์
3.เพราะไม่มีมีใครแก่เกินเรียน ฉะนั้นจงอย่าหยุดที่จะแสวงหาความรู้
4.สละเวลาดูคลิปไร้สาระวันละนิด แล้วเปิดสื่อดีๆเป็นครูสอนชีวิตก็จะไม่ห่างจากการเรียนรู้
5.เพราะการเรียนมิใช่เพียงแต่จำกัดในห้องเรียน...!!!
6.ใครว่าผมทิ้งเป้าหมาย แต่เป้าหมายของผมมันมากกว่าที่คนอื่นจะเข้าใจ
7.บางอย่างอธิบายให้แทบตายก็ไร้ค่า ปล่อยให้เข้าใจกันไป แล้วสักวันจะเห็นว่า "เพราะการกระทำสำคัญกว่าคำพูด"

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558

พุทธศาสนาแบบจีนในสังคมไทย 1/3

https://www.youtube.com/watch?v=MyVqe_veBmw

วัดม้าว (白馬寺) จุดกำเนิดพระพุทธศาสนาในประเทศจีน

 วัดม้าขาว หรือ ไป๋หม่าซื่อ  (จีน: 白馬寺, อังกฤษ: White Horse Temple, พินอิน: Báimǎ Sì) เป็นวัดทางพุทธศาสนาแห่งแรกที่ตั้งขึ้นในประเทศจีน อยู่ที่เมืองลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน ซึ่งประวัติความเป็นมา คือ ในปี ค.ศ. ๖๖ ในรัชสมัยจักรพรรดิมิ่งตี้ แห่งราชวงศ์ฮั่น หลังจากได้มีการส่งคณะทูต ๑๘ คน ไปสืบพุทธศาสนาที่ประเทศอินเดีย โดยใช้เวลา ๓ ปี คณะทูตก็ได้เดินทางกลับ พร้อมด้วยพระพุทธรูป พระภิกษุอีก ๒ รูป คือ พระกัศยป มาตังคะ (迦葉摩騰)และพระธรรมรัตน์ โคภรณ์ (竺法蘭) และคัมภีร์ทางพุทธศาสนามาส่วนหนึ่งด้วย โดยบรรทุกมาบนหลังม้าสีขาวตัวหนึ่ง ในปี ค.ศ. ๖๘ จึงได้โปรดให้มีการสร้างวัดแห่งนี้ขึ้นที่ชานเมืองลั่วหยาง เพื่อเป็นที่เก็บพระคัมภีร์ และให้พระภิกษุทั้ง ๒ จำพรรษา ณ วัดแห่งนี้ และพระราชทานนามให้ว่า "วัดม้าขาว" เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ม้าขาวตัวนั้นวัดม้าขาว กลายมาเป็นต้นกำเนิด และศูนย์กลางของพุทธศาสนาในประเทศจีน ซึ่งต่อมาได้มีพระภิกษุอีกนับพันรูปได้จำพรรษา ณ วัดแห่งนี้ รวมทั้งพระอันซื่อกาว พระเสวียนจั้ง หรือ พระถังซัมจั๋ง ด้วย ซึ่งก่อนออกเดินทางไปจารึกแสวงบุญยังประเทศอินเดีย ก็ได้เริ่มต้นการเดินทางจากที่นี่ และเดินทางกลับมายังประเทศจีน ในปี ค.ศ. ๖๔๕ และมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ซึ่งปัจจุบันอัฐิของท่านก็ถูกบรรจุอยู่ในเจดีย์องค์หนึ่งที่วัดแห่งนี้วัดม้าขาวถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่ง ของเมืองลั่วหยาง และมณฑลเหอหนาน โดยมีผู้มาเยือนจากทั่วโลกไม่ขาดสายในแต่ละปี

ประเทศจีนเป็นดินแดนแห่งอารยะของชาวพุทธที่สร้างงานพุทธศิลป์ไว้ตามร่องรอยอารยธรรมอันยิ่งใหญ่ คือ เส้นทางสายไหมดั่งเห็นได้จากรูปแกะสลักพุทธประวัติตามร่องรอยที่ปรากฏตามเส้นทางสายไหม#ไว้รอบหน้าจะนำภาพภายในสถานที่วัดศิลปแบบเถรวาทภายในวัดม้าขาวมานำเสนอให้ชมกันนะครับ#สาธุอนุโมทนากับศาสนิกชนทั้งชายไทยและชาวจีนทุกๆท่านที่นำพุทธศาสนาเถรวาทแบบไทยมาสู่แผ่นดินจีน สมดั่งคำที่ว่า “ไทยจีนพี่น้องกัน"


วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558

การทูตพุทธธรรม:เมื่อโมดีประกาศ “พุทธคยา”เป็น“เมืองหลวงโลกแห่งศาสนาพุทธ”

วันพฤหัสบดี ที่ 10 กันยายน 2558 




                ทันทีที่ได้ยินนายกฯนเรนธรา โมดีของอินเดียประกาศจะพัฒนาสังเวชนียสถาน “พุทธคยา” ให้เป็น “เมืองหลวงพุทธศาสนาของโลก” มื่อเช้าวันเสาร์ที่ 5 กันยายนที่ผ่านมา, ผมก็เห็นความชาญฉลาดทั้งด้านการทูต, การเมืองและสังคมของผู้นำชาวภารตะคนนี้โดยพลัน ยิ่งเมื่อเขาเชิญชวนนายกฯชินโซะ อาเบะแห่งญี่ปุ่นมาร่วมสร้าง “นวัตกรรม” แบบ “การทูตพุทธธรรม” ก็ยิ่งเห็นก้าวสำคัญของอินเดียในอันที่จะเล่นบทเป็นผู้นำด้านนี้อย่างที่ไม่มีใครมาแข่งขันได้ด้วย วันที่นายกฯโมดีมาเปิดงานระดมความคิดเห็นของผู้นำศาสนาพุทธและฮินดูเกือบร้อยคนจากทั่วโลกที่นิวเดลฮีในหัวข้อ “Global Hindu-Buddhist Initiative on Conflict Avoidance and Environment Consciousness” คือวันที่ 3 กันยายนเป็นวันเดียวกับที่นายกฯสีจิ้นผิงของจีนจัดงานสวนสนามครั้งใหญ่ที่กรุงปักกิ่งเพื่อรำลึกถึงชัยชนะของจีนต่อญี่ปุ่นเมื่อ 70 ปีก่อน สองภาพดูเหมือนจะขัดกันโดยสิ้นเชิง ผู้นำอินเดียเชิญชวนผู้นำญี่ปุ่นใช้ศาสนาหาทางป้องกันความขัดแย้งแทนที่จะรอให้เกิดความรุนแรงแล้วจึงจะหาทางออก ขณะที่ผู้นำจีนตอกย้ำถึงแสนยานุภาพทางทหารอันมีความหมายโอนเอียงไปทางด้านสงคราม แน่นอน โมดีคงไม่ได้ตั้งใจจะแสดงปาฐกถาเรื่องศาสนาและสันติภาพประสานเสียงกับอาเบะ ณ วันเดียวกับที่สีจิ้นผิงเน้นเรื่องชัยชนะในสงคราม แต่ก็ไม่อาจหลบหลีกการเปรียบเทียบมหาอำนาจเอเซียทั้งสามในสองกรณีนี้ได้ ผู้จัดงานที่อินเดียคือมูลนิธิ Vivekananda International Foundation ร่วมกับ Tokyo Foundation ยืนยันว่าได้เชิญผู้นำจิตวิญญาณด้านศาสนาพุทธมาร่วมในการเสวนาครั้งใหญ่ครั้งนี้ด้วย แต่ไม่มีคำตอบจากปักกิ่ง น่าตั้งข้อสังเกตว่านายกฯโมดีริเริ่มแนวทาง Buddhist Diplomacy ขณะเดียวกับที่จีนชูธงเส้นทางสายไหมยุคใหม่คือ One Belt, One Road (ผมกำลังเตรียมตัวจะไปร่วมเสวนาเรื่องนี้กับฝ่ายจีนในสัปดาห์หน้านี้) ความฉลาดเฉลียวของโมดีคือการใช้ศาสนามาเป็น “ความริเริ่มทางการทูต” เพื่อให้อินเดียมีภาพของการเป็นผู้นำเรื่องสันติภาพ, การป้องกันความรุนแรงและการก่อการร้ายข้ามชาติ, รวมไปถึงการดึงให้ประเทศทั้งหลายมาสานสัมพันธ์กันในมิติทางศาสนา ผู้นำคนอื่นมุ่งมองการเมือง, เศรษฐกิจ, ความมั่นคง แต่โมดีใช้ความเป็นที่เกิดของศาสนาพุทธและความเป็นชาติฮินดูผสมผสานให้เป็น “หัวหอก” แห่งแนวทางสันติ 

                ศาสนากับการทูต...ดูเหมือนแยกออกจากกัน, แต่ความจริงเป็นคนละเรื่องเดียวกัน อยู่ที่วิสัยทัศน์ของผู้นำในอันที่จะ “ออกแบบ” นโยบายใช้ “ทรัพยากร” ทุก ๆ ด้านเพื่อบรรลุเป้าหมายเพื่อผลประโยชน์แห่งชาติ นายกฯโมดีใช้ “มรดกประวัติศาสตร์”ด้านพุทธศาสนามาเป็น “จุดแข็ง” และ “จุดขาย” ที่คนอื่นไม่มี หรือมีแต่ไม่สามารถถักทอให้เป็นแนวทางที่บรรดาลใจตั้งแต่ชาวบ้านไปถึงประชาคมโลกได้อย่างน่าทึ่ง ผู้นำอินเดียบอกว่า “มิติแห่งอารยธรรมและวัฒนธรรม” ที่ยืนยาวมาเป็นพัน ๆ ปีของอินเดียย่อมสามารถนำมาซึ่งแนวทางการป้องกันความขัดแย้งแห่งศตวรรษที่ 21 ให้สัมฤทธิ์ผลได้หากยึดมั่นในหลักแห่งศีลธรรมจรรยา, ละเว้นการปฏิบัติชั่วมุ่งทำความดี โมดีใช้ความเป็นลูกชาวบ้าน นักการเมืองคิดนอกกรอบ และความเลื่อมใสในศาสนามาเป็นอาวุธทางการทูตได้อย่างน่าวิเคราะห์ยิ่ง เพราะหากศาสนาพุทธช่วยให้ปัจเจกชนทำดีละชั่วได้ ก็ย่อมจะสามารถเป็นหนทางแห่งการ “พ้นทุกข์” ของ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้เช่นกัน.


แหล่งข่าว : http://www.oknation.net/blog/blackcheepajornlok/2015/09/10/entry-1

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558

มีความสุขกับวันนี้..พรุ่งนี้ค่อยว่ากันใหม่..นะ Don't worry...Be HappY.. 不要把明天的事,拿来今天烦恼。 Bùyào bǎ míngtiān de shì, nǎ lái jīntiān fánnǎo. อย่านำเอาเรื่องราวของวันพรุ่งนี้ มาทำให้วันนี้ทุกข์ใจ (กังวลใจ)